บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2019

ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าภาคปฏิบ้ติ

รูปภาพ
ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าภาคปฏิบ้ติ สมเกียรติ มีธรรม ในทุกๆปีของเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ภาคเหนือตอนบนประสบปัญหาหมอกควันไฟป่าซ้ำซาก หลายภาคส่วนกำลังค้นหาสาเหตุ พื้นที่เผาไหม้ และผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ขณะที่ออกของปัญหาทั้งในระดับพื้นที่และนโยบายยังไม่มีความชัดเจนว่า ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวจะไปอย่างไร เอาแค่พื้นที่เผาไหม้ นักวิชาการบางส่วนก็ยังไม่แน่ใจว่า เกิดขึ้นในป่าหรือว่าพื้นที่การเกษตรในเขตป่ามากกว่ากัน แม้จุดความร้อนหรือ hotstpot ชี้ชัดแล้วก็ตาม ฝ่ายวิชาการบางส่วนก็ยังยึดถือข้อมูลเก่าๆ นำมาเล่าความต่อผ่านสื่อต่างๆ จนไขว้เขวหลงทางไปไกล ขุนไม่ขึ้นเลยก็ว่าได้ ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดไม่ตรงประเด็น ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น กระแสการกลับมาของแนวคิด Zero burning ของพวกโลกสวยกลับมาเย้วๆอีกครั้ง โดยไม่มีทางออกที่เหมาะสมให้กับชาวบ้านและภาคส่วนต่างๆทั้งในเชิงนโยบายและในระดับพื้นที่ ก็อาจถูกตีกลับได้เช่นกัน และนั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งของไฟป่า สาเหตุไฟในป่าฯแบ่งได้ดังนี้ พื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ และริมทาง  มาจาก 1.ล่าส...

ป่าไม้ที่ดินแม่แจ่ม : ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก

รูปภาพ
ป่าไม้ที่ดินแม่แจ่ม                             : ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก สมเกียรติ มีธรรม                ป่ารุกคน พื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม (ตามกฎกระทรวงฉบับ ๗๑๒ พ.ศ.๒๕๑๗) และพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น ๑ เอ (ตามมติครม.พ.ศ.๒๕๒๘) คิดเป็นร้อยละ ๘๑ และร้อยละ ๕๘.๖๖ ของพื้นที่ทั้งหมด ๑,๗๔๕,๔๒๕ ไร่ มีพื้นที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร และที่อยู่อาศัยรวมกัน ๓๔๔,๘๓๓.๘๘ ไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์เพียง ๑๓,๒๖๔ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา (สำนักงานที่ดินส่วนแยกแม่แจ่ม พ.ศ.๒๕๕๖) ที่เหลืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่มและพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น ๑ เอ/บี ชั้น ๒ และ ๓ ตามลำดับ โดยทางการไม่ได้กันชุมชนและที่ทำกินออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่มและพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำก่อนประกาศแต่อย่างใด ส่งผลทำให้ชุมชนท้องถิ่นดังเดิมที่อยู่กันมายาวนานผิดกฎหมายทันที เป็นปัญหา“ป่ารุกคน” ที่ตราบจนทุกวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ม...

ห่วงโซ่อุปทาน เกษตรพันธสัญญา แม่แจ่ม

รูปภาพ
ห่วงโซ่อุปทาน เกษตรพันธสัญญา แม่แจ่ม สมเกียรติ มีธรรม           พืชเศรษฐกิจอำเภอแม่แจ่มที่เกษตรกรปลูกกันตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๕๗ มีทั้งหมด ๗๓ ชนิด [1] มี ๕๓ ชนิดที่หายไปในช่วงปีพ.ศ.๒๕๔๙ และ ๒๕๕๐ เช่น ยาสูบ พริกขี้หนูสวน พริกใหญ่ ละหุง เผือก มันเทศ ผักชี คะน้า ผักบุ้งจีน แครอท งา ฯลฯ ขณะที่หอมแดงและกะหล่ำปลี แม้จะเป็นที่นิยมกันสูงในช่วงปีพ.ศ.๒๕๔๔-๔๙ พอเข้าปีพ.ศ.๒๕๕๐ กลับมีพื้นที่การปลูกลดลงตามลำดับ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขยับตัวเพิ่, สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นหลักแสนไร่ในปีพ.ศ.๒๕๕๔ พอปีพ.ศ.๒๕๕๕ และ๒๕๕๖ เกษตรกรหลายราย เริ่มหันมาหาพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น กาแฟ และยางพารา เนื่องจากบางปีประสบปัญหาราคาข้าวโพดตกต่ำ รวมถึงปัญหาหมอกควัน น้ำหลาก ดินถล่ม และภัยแล้ง ที่เริ่มรุนแรงขึ้นทุกปี ทำให้เกษตรกรเริ่มปรับตัวหาพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ทดแทนและชดเชยรายได้ให้สมดุลกับรายจ่ายที่สูงขึ้นไปในแต่ละปี การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงสั้นๆ ของพื้นที่ปลูกยางพารา จาก ๒๑๕ ไร่ในปีพ.ศ.๒๕๕๕ เป็น ๓,๖๗๔ ไร่ในปีพ.ศ.๒๕๕๖ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนของ...