บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2019

จับโกหกคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ กรณีบทความเรื่อง “ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ”

รูปภาพ
จับโกหกคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ กรณีบทความเรื่อง “ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ” ................................................................................................................................................................... ย้อนรอยนิดหนึ่งครับ คุณวันชัยเขียนบทความนี้ลงในสารคดีเดือนเมษายน 2558 ในตอนนั้นคุณวันชัยดำรงตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ   สาธารณะแห่งประเทศไทย ( ThaiPBS ) และอดีต บก.นิตยสารสารคดี บทความนี้ขาดข้อมูลข้อเท็จจริง ผมจึงได้เขียนตอบโต้ไปทีละประเด็น หลังบทความผมเขียนตอบโต้ คุณวันชัยได้ประสานผ่านทางคุณนิคม พุทธา ขอให้ผมลบบทความนี้ออก เนื่องจากไปทำลายเครดิตคุณวันชัย ในวันนั้นผมต่อลองกับคุณนิคม พุทธา ให้แก้ไข แต่ก็ไม่เป็นผล วันนี้บทความที่ขาดข้อเท็จจริงของคุณวันชัยถูกแชร์เผยแพร่อีกครั้ง โดยเจ้าตัวรู้หรือไม่ก็ตาม ผมจึงต้องเอาบทความที่ผมเขียนตอบคุณวันชัยในเดือนเมษายน 2558 ออกเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยไม่ได้ตัดต่อหรือเพิ่มความใดๆทั้งสิ้น ..........................................

การเมืองเรื่องหมอกควันไฟป่า

รูปภาพ
การเมืองเรื่องหมอกควันไฟป่า สมเกียรติ มีธรรม   ๑. ผมเคยให้สัมภาษณ์สื่อและนักวิจัยหลายคนว่า สาเหตุหนึ่งของการเผาป่า(ซึ่งผมไม่ได้เขียนไว้ในบทความ)ก็คือ ปัญหาเรื่องการเมืองในท้องถิ่นหรือในหมู่บ้าน อันเนื่องมาจากญาติพี่น้องของตน หรือคนที่ตนรักชอบไม่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนก็ไม่พอใจ และไม่ให้ความร่วมมือใดๆทั้งสิ้น มิหนำซ้ำทั้งยังคอยเป็นหอกข้างแคร่คอยทิ้มแทงผู้นำตลอดเวลา ว่ามีศักยภาพในการแก้ไขปัญหามากน้อยแค่ไหน หลายหมู่บ้านเป็นแบบนี้ครับ การเลือกผู้นำหรือผู้ใหญ่บ้านทำให้เกิดการแบ่งขั้วชัดเจน บางหมู่บ้านเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอดจนหมดวาระ บางหมู่บ้านก็คอยสกัด ขัดแข้งขัดขาอยู่เรื่อยไป พอถึงฤดูหมอกควันไปป่าก็จะวัดศักยภาพผู้นำว่า สามารถระดมชาวบ้านไปร่วมดับไฟได้มากน้อยแค่ไหน ไฟป่าที่เกิดจากปัญหาการเมืองภายในหมู่บ้านหรือท้องถิ่นแบบนี้แหละครับ คนเป็นผู้นำก็เหนื่อยที่ต้องวิ่งดับไฟไปทั่วเขตปกครองหหมู่บ้าน และยังส่งผลกระทบออกไปในวงกว้างอีกด้วย กรณีหมอกควันไฟป่าที่เกิดขึ้นรุนแรงเกือบสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็อาจถูกพัฒนาไปสู่การเมืองระดับชาติก็เป็นได้ เพื่อดิสเครดิตคู่ตรงข้าม ให้สังคมเ

ตอบโจทย์...หมอกควันไฟป่ามาจากการเผาไร่ข้าวโพดจริงหรือ แต่ถ้าไม่ใช่ชาวบ้านมีวิธีการเตรียมพื้นที่ปลูกอย่างไร...?

รูปภาพ
ตอบโจทย์ ... หมอกควันไฟป่ามาจากการเผาไร่ข้าวโพดจริงหรือ...? แต่ถ้าไม่ใช่ ชาวบ้านมีวิธีการเตรียมพื้นที่ปลูกอย่างไร ...? สมเกียรติ มีธรรม ช่วงที่เกิดหมอกควันไฟป่าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทั้งนักวิชาการและคนเมืองต่างเพ่งเล่งมาที่ชาวบ้าน เป็นต้นเหตุที่เผาไร่เตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพดในรอบใหม่ แม้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้ชี้ชัดว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์เป็นส่วนใหญ่ ด้วยข้อมูลที่ผิดๆจากการศึกษาวิจัย ทำให้การแก้ไขปัญหาผิดไปด้วย  อันที่จริงการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าต้องช่วยกันครับ ช่วยกันตั้งนำข้อมูลที่ถูกต้องเผยแพร่ ช่วยกันหาสาเหตุ และช่วยกันแก้ไข ประการหลังนี้เราไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐเพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่มีทางที่รัฐจะทำได้ หากชาวบ้านและสังคมไม่ช่วยกัน ซึ่งนั้นไม่ได้หมายความว่าจะให้คนในเมืองลงมาดับไฟป่าหรอก และก็เป็นไปไม่ได้ด้วย การช่วยสนับสนุนชาวบ้านและหน่วยงานรัฐในรูปแบบ กองทุนตอบแทนคุณนิเวศ ก็เป็นอีกทางหนึ่งซึ่งคนในเมืองทำได้ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ หรือสนับสนุนตรงไปยังชุมชนก็ได้ อย่างปี 2559-60 แม่แจ่มจัดตั้ง กองทุน

ทำไม.. การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน

รูปภาพ
ทำไม...? การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน สมเกียรติ มีธรรม ถึงเวลาที่ต้องมาพูดความจริงกันล่ะว่า ทำไมการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าไม่ก้าวหน้าไปไหน วนเวียนอยู่อย่างนี้ในทุกๆปี ที่พูดเช่นนี้ มองอีกด้านก็ออกจะพูดเกินไปหน่อย นั้นก็ไม่เชิงเสียทีเดียวนัก จุดความร้อนหรือ hotspot และพื้นที่เผาไหม้หรือ burnscar ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการจัดการไฟป่าอย่างเป็นระบบเมื่อปี 2559 เป็นต้นมา นับได้ว่าเป็นความสำเร็จอีกเช่นกัน แต่ความสำเร็จนั้น...ทำไม...? จุดความร้อนหรือhotspot และพื้นที่เผาไหม้หรือburnscar ลดลง   แต่หมอกควันยังคงไม่จางหาย ประการที่ 1 ความต่อเนื่อง การในการจัดการไฟป่าที่เป็นระบบ ประเทศกูมี เอ้ย..ไม่ใช่.... ประเทศไทยเรา พอหัวเปลี่ยน ทุกอย่างก็เปลี่ยนครับ นับตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่า ผู้อำนวยสำนักต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อธิบดี รัฐมนตรี ยันนักการเมืองโน้น มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า ตามสายงานระบบราชการไทยเขาไม่เดินตามรอยเท้ากัน (แต่เอากันไว้) ดังนั้นจึงอย่าหวังว่าอะไรที่ทำดีแล้วจะถูกส่งต่อ หรือออกแรงยกระดับการแก้ไขปัญหาต่อไปได้ ประการที่ 2   ล้ำหน้าไม่ได้ .... &

ภาคประชาสังคมบนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ตอนหมดยุคอัศวินขี่ม้าขาว

รูปภาพ
ภาคประชาสังคมบนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ตอน หมดยุคอัศวินขี่ม้าขาว สมเกียรติ มีธรรม คงไม่ต้องย้อนรอยไปไกลให้เห็นว่า ภาคประชาสังคม หรือ NGO ก้าวเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนสังคมตั้งแต่เมื่อไหร่ ถ้าถือเอาอายุขัยการทำงานภาคประชาสังคมโดยไม่ตั้งใจเป็นตัวตั้ง รวมสังกัดองค์กรและไม่สังกัดองค์กรก็ปาเข้าไปไม่น้อยกว่า 15 ปีนับแต่ที่เริ่มทำงาน ผมไม่เหมือนคนอื่นๆที่มีอุดมการณ์ เข้ามาทำงานภาคประชาสังคมด้วยแรงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมโดยไม่สนเงินเดือนเท่าไหร่ หากแต่ผมเข้ามาด้วยความไม่รู้ อวิชชา ในสายตาของเพื่อนร่วมงาน หวังเพียงว่าจะเดินทางต่อไปยังเป้าหมายคือ "วิศวกร" แต่โชคชะตาก็เล่นตลก ทำให้ตกอยู่ในวงการภาคประชาสังคมโดยไม่ตั้งใจมาจนถึงทุกวันนี้ สิบกว่าปีบนเส้นทางสายนี้ ต้องเรียนรู้ (ออกแนวแข่งกันเก่ง) กับเพื่อนร่วมงานมาอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นจะถูกถีบออกจากแวดวงให้เป็นคนชายเขตหรือตกขอบไปเลยก็ว่าได้ การได้อยู่ในแวดวงที่มีการแข่งขันกันสูงนี้เอง ได้หล่อหลอมความคิดความอ่านและทักษะอันหลากหลายจนกลายมาเป็นตัวเราทุกวันนี้ และในช่วงที่เราเดินทางในแวดวงภาคประชาสังคม

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม : ว่าด้วยพลังชุมชนแก้ไฟป่าและหมอกควัน

รูปภาพ
จริยธรรมสิ่งแวดล้อม : ว่าด้วยพลังชุมชนแก้ไฟป่าและหมอกควัน จังหวัดเชียงรายแทบไม่มีจุดความร้อน (hotspot) จังหวัดเชียงใหม่ hotspot ลงไปเรื่อยๆ  จิตอาสาได้รับบาดเจ็บจากการดับไฟป่า จิตอาสาเสียชีวิตจากการดับไฟป่า ชาวบ้านให้ความร่วมมือไม่จุดไฟเผาป่าช่วง 60 วันห้ามเผา ชาวบ้านร่วมกันทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและสัตว์ป่า ชาวบ้านคืนพื้นที่ทำกินให้เป็นป่า ชาวบ้านร่วมกันบวชป่าและปลูกป่า เกษตรกรเอาพื้นที่ทำกินปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเพิ่มพื้นที่สีเขียว  ชาวบ้านร่วมกันทำป่าชุมชน ป่าใช้สอย เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เหล่านี้คือ พฤติกรรมการแสดงออกของชาวบ้านและเกษตรกรในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าหลายต่อหลายเรื่องกลับไปติดระเบียบและกฎหมาย เป็นอุปสรรคทำให้การปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมล่าช้า แม้ว่าปัจจุบันเริ่มมีการแก้กฏหมายและระเบียบต่างๆ ไปบ้าง แต่ก็ยังไม่เปิดเต็มที่ ติดๆขัดๆกับเงื่อนไขหยุบหยิม ในฐานะคลุกคลีกับชาวบ้านมายาวนานต่อเนื่อง พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา ป้องกัน และอนุรักษ์ทร

แม่แจ่มโมเดล ; จุดร่วมบนความแตกต่างในเส้นทางเดียวกัน ของภาคประชาสังคม

รูปภาพ
แม่แจ่มโมเดล แม่แจ่มโมเดลพลัส ; จุดร่วมบนความแตกต่างในเส้นทางเดียวกัน ของภาคประชาสังคม สมเกียรติ มีธรรม ตีพิมพ์ใน ENGAGEMENT THAILAND : CMUSR MAGAZINE การทำงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสนองต่อองค์กรและแหล่งทุน โดยเอากลุ่มเป้าหมายเป็นสินค้าหรือว่าตัวประกันแบบเดิมนั้นนับวันจะสูญพันธุ์ลงไปเรื่อยๆ การทำงานด้วยใจ เปิดกว้างเรียนรู้ปัญหาและความต้องการของชาวบ้าน  เรียนรู้ไปแก้ไป  กลับสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในและความแตกต่างของเนื้อหาและกระบวนการทำงานบนเส้นทางเดียวกันได้อย่างชัดเจน             จุดร่วมของความแตกต่างในเส้นทางเดียวกันกรณีแม่แจ่มโมเดลและแม่แจ่มโมเดลพลัส ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่มีพัฒนาการของการเรียนรู้ร่วมกันที่นำไปสู่เนื้อหา และกระบวนการที่สร้างความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่อง ระหว่างท้องถิ่นท้องที่ หน่วยงานด้านป่าไม้ในระดับจังหวัด ภาคประชาสังคม และชาวบ้าน นับตั้งแต่โครงการต่อยอดต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มและอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ในปีพ.ศ.2554 มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นปร