ทำไม.. การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน
ทำไม...?
การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน
ประการที่ 7 ขาด BIG DATA ที่ทำหน้าที่สร้างความเอกภาพด้านข้อมูลการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า
จึงทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน
การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน
สมเกียรติ มีธรรม
ถึงเวลาที่ต้องมาพูดความจริงกันล่ะว่า ทำไมการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าไม่ก้าวหน้าไปไหน วนเวียนอยู่อย่างนี้ในทุกๆปี
ที่พูดเช่นนี้ มองอีกด้านก็ออกจะพูดเกินไปหน่อย นั้นก็ไม่เชิงเสียทีเดียวนัก จุดความร้อนหรือ hotspot และพื้นที่เผาไหม้หรือ burnscar ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการจัดการไฟป่าอย่างเป็นระบบเมื่อปี 2559 เป็นต้นมา นับได้ว่าเป็นความสำเร็จอีกเช่นกัน
แต่ความสำเร็จนั้น...ทำไม...? จุดความร้อนหรือhotspot และพื้นที่เผาไหม้หรือburnscar ลดลง แต่หมอกควันยังคงไม่จางหาย
ประการที่ 1 ความต่อเนื่อง การในการจัดการไฟป่าที่เป็นระบบ ประเทศกูมี เอ้ย..ไม่ใช่.... ประเทศไทยเรา พอหัวเปลี่ยน ทุกอย่างก็เปลี่ยนครับ นับตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่า ผู้อำนวยสำนักต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อธิบดี รัฐมนตรี ยันนักการเมืองโน้น มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า ตามสายงานระบบราชการไทยเขาไม่เดินตามรอยเท้ากัน (แต่เอากันไว้) ดังนั้นจึงอย่าหวังว่าอะไรที่ทำดีแล้วจะถูกส่งต่อ หรือออกแรงยกระดับการแก้ไขปัญหาต่อไปได้
ประการที่ 2 ล้ำหน้าไม่ได้ .... "คุณเก่ง...ทำดีนะ.. แต่ไอ้ห่า... เอ็งไม่มองเพื่อนเลย" เศร้าใจมั๊ยล่ะประเทศไทย ในระบบราชการเป็นอย่างนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาคิดและทำอะไรใหม่ๆไม่ได้ก็หาว่าล้ำหน้านาย ทำให้การแก้ไขปัญหาหลายๆพื้นที่ซึ่งทำดีอยู่แล้วไปต่อไม่ได้
ประการที่ 3 แผนการแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้องกับข้อเท็จในพื้นที่ แข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น งบประมาณที่ลงไปพื้นที่ แทนที่จะเอามาหนุนชุมชนดับไฟป่า หรือว่าสร้างหลักประกันให้กับจิตอาสาดับไฟป่า แต่กลับเอาไปทำแนวกันไฟ ซึ่งในข้อเท็จชาวบ้านเขาทำกันอยู่แล้ว ฯ อย่างนี้เป็นต้น
ประการที่ 4 ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนต่างๆ ผมใช้คำว่าการแก้ไขปัญหานับว่าเท้าไม่ติดดินมากขึ้นเรื่อยๆ คือมองข้ามชุมชน มองข้ามการมีส่วนร่วม ชาวบ้านมีหน้าที่อย่างเดียวคือทำตามคำสั่ง เมื่อบอกห้ามเผาก็ไม่ต้องเผาเท่านั้นเป็นพอ
ประการที่ 5 ขาดความเป็นเอกภาพ ความพยายามที่จะใช้ระบบ single command เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ สำหรับประเทศไทยดูยาก บางทีจู่ก็มีผู้มากบารมีเข้ามาแทรกแซงและสร้างความซับสนตลอด บางทีระดับอำเภอเอาอย่าง จังหวัดเอาอย่าง ที่มากกว่านั้นก็คือความเข้าใจต่อคำว่า single command ที่คับแคบ เหลือเพียงรอฟังคำสั่งคนๆเดียว ไม่ใช้ให้คนเดียวเป็นตัวประสานช่วยกันขับเคลื่อนไปด้วยกันดอกเหรอ..ระบบราชการไทย เอาเข้าจริงใครสั่งใครได้ล่ะ
ประการที่ 6 ขาดข้อมูลที่ถูกต้องในการบริหารจัดการ การจัดการปัญหาฯที่เห็นๆมาไม่ค่อยใช้ข้อมูลมาบริหารจัดการเท่าไหร่ หรือใช้ข้อมูล ก็เป็นข้อมูลที่ผิดๆ และหลายต่อหลายกรณีไม่มีข้อมูลมาช่วยตัดสินใจเลยด้วยซ้ำ ต้องเร่งรีบมาหาสาเหตุกันตอนที่เกิดเหตุ ตัวอย่างปัญหาฝุ่นควันในกรุงเทพฯที่ผ่านมา กว่าจะฟันธงได้ว่าฝุ่นควันมาจากไหนหลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ก็จะแย่กันอยู่แล้ว หรือกรณีหมอกควันไฟป่าภาคเหนือ ก็เพิ่งมาหาสาเหตุกันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีคำตอบจากงานวิจัยชัดเจนว่า หมอกควันมาจากไหน แต่ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นคำตอบและข้อเสนอจากงานวิจัยในห้องแอร์ เกือบทั้งหมดใช้ไม่ได้กับข้อเท็จจริงในพื้นที่
ประการที่ 7 ขาด BIG DATA ที่ทำหน้าที่สร้างความเอกภาพด้านข้อมูลการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า
จึงทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ไม่ก้าวหน้าไปไหน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น