บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2024

งานวิจัยพบ ป่าเต็งรัง ไม่จำเป็นต้องเผาทุกปี

รูปภาพ
การใช้ไฟในแต่ละพื้นที่ป่ามีความแตกต่างกันไปโดยไม่จำเป็นต้องเผาทุกปี ยกเว้นกรณีทุ่งหญ้า ซึ่งดูว่าจะต้องการไฟมาช่วยเพิ่มศักยภาพอาหาร รองรับประชากรสัตว์มากกว่าพื้นที่อื่น ส่วนป่าที่อาจจะพูดว่าต้องห้าม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากดูว่าจะเป็นป่าสน ไฟมีผลกระทบต่อไม้สนขนานเล็กขนานกลางสูงมาก ขณะที่ป่าเบญจพรรณมีชีวมวลมาก ปล่อยคาร์บอนที่สูญเสียในบรรยากาศก็สูงตามไปด้วย ขณะที่ป่าเต็งรัง แม้การใช้ไฟจะเพิ่มความหลากหลายของไม้พื้นล่าง แต่ก็กระทบต่อการแตกหน่อของลูกไม้ การสูญเสียธาตุอาหารเหนือพื้นดินจากการเผา และคุณสมบัติของดินอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งขึ้นอยู่กับภาพภูมิประเทศ นอกจากนั้นงานวิจัยยังพบอีกว่า การสะสมชีวมวลแม้จะสูงกว่าแปลงที่มีความถี่ของไฟสูงถึง 2 เท่าตัว แต่ไฟไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด ดังนั้น การเผาทุกช่วงระยะเวลา 5-7 ปี ในป่าเต็งรัง ไม่ได้ส่งผลให้ไฟมีความรุนแรงมาก (ประมาณ 290-470 kW.m-1) อีกทั้งการศึกษาของนักวิจัยอื่นๆ ได้ผลการศึกษาที่ใกล้เคียงกันว่า ไฟที่เกิดขึ้นในป่าเต็งรังเป็นไฟที่มีความรุนแรงต่ำ (Akakara et al. 2003; Himmapan 2004) ทั้งการสูญเสียธาตุอาหารจากการเผา ตลอดทั้งผลกระทบต่อสังคมพืชก็ไม่รุน

จุดเปลี่ยนจัดการไฟป่า

รูปภาพ
  การ"เผาป่า"ทุกปี เพิ่งเกิดขึ้นเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการมาจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ที่ไม่ได้ปักธงความคิดสู่ผู้บริหารองค์กร ผู้นำ และชุมชน ทุกคนเห็นแต่รูปแบบวิธีจัดการเชื้อเพลิงในป่าแบบง่ายๆ โดยไม่เข้าใจป่า จึงหยิบได้แต่เทคนิควิธีการที่ขาดเนื้อหาสาระสำคัญไปใช้ ในที่สุดก็กลายเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ จะเรียกว่าเผาทิ้งเผาขว้างก็ย่อมได้ แนวคิดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ เดิมทีเรียกกันว่า"ชิงเผา" มาในช่วงปีสองปีให้หล้ง รัฐเปลี่ยนวาทะกรรมเสียใหม่ จาก "ชิงเผา" มาเป็น "บริหารจัดการเชื้อเพลิง"แทน ถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐเองก็พยายามที่จะสร้างวาทะกรรมใหม่ภายใต้แนวคิด Zero burenimg โดยใช้คำว่า "ชิงเก็บ" แต่แล้ววาทะกรรมนี้ก็สร้างขึ้นได้ยาก เนื่องจากในทางปฏิบัติไม่ตอบโจทย์การบริหารจัดการชีวมวลในป่าซึ่งมีมหาศาลได้ การใช้โดรนขนใบไม้ออกจากป่ามาทำปุ๋ย หรือจะนำเอาสิ่งประดิษฐ์จากใบไม้เข้าไปผนวกด้วยกัน ก็ไม่มีทางวิดน้ำในมหาสมุทรได้ จึงทำให้แนวคิด Zero burenimg ภายใต้วาทะกรรม "ชิงเก็บ" ไปต่อไ