งานวิจัยพบ ป่าเต็งรัง ไม่จำเป็นต้องเผาทุกปี


การใช้ไฟในแต่ละพื้นที่ป่ามีความแตกต่างกันไปโดยไม่จำเป็นต้องเผาทุกปี ยกเว้นกรณีทุ่งหญ้า ซึ่งดูว่าจะต้องการไฟมาช่วยเพิ่มศักยภาพอาหาร รองรับประชากรสัตว์มากกว่าพื้นที่อื่น ส่วนป่าที่อาจจะพูดว่าต้องห้าม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากดูว่าจะเป็นป่าสน ไฟมีผลกระทบต่อไม้สนขนานเล็กขนานกลางสูงมาก ขณะที่ป่าเบญจพรรณมีชีวมวลมาก ปล่อยคาร์บอนที่สูญเสียในบรรยากาศก็สูงตามไปด้วย


ขณะที่ป่าเต็งรัง แม้การใช้ไฟจะเพิ่มความหลากหลายของไม้พื้นล่าง แต่ก็กระทบต่อการแตกหน่อของลูกไม้ การสูญเสียธาตุอาหารเหนือพื้นดินจากการเผา และคุณสมบัติของดินอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งขึ้นอยู่กับภาพภูมิประเทศ นอกจากนั้นงานวิจัยยังพบอีกว่า การสะสมชีวมวลแม้จะสูงกว่าแปลงที่มีความถี่ของไฟสูงถึง 2 เท่าตัว แต่ไฟไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด

ดังนั้น การเผาทุกช่วงระยะเวลา 5-7 ปี ในป่าเต็งรัง ไม่ได้ส่งผลให้ไฟมีความรุนแรงมาก (ประมาณ 290-470 kW.m-1) อีกทั้งการศึกษาของนักวิจัยอื่นๆ ได้ผลการศึกษาที่ใกล้เคียงกันว่า ไฟที่เกิดขึ้นในป่าเต็งรังเป็นไฟที่มีความรุนแรงต่ำ (Akakara et al. 2003; Himmapan 2004) ทั้งการสูญเสียธาตุอาหารจากการเผา ตลอดทั้งผลกระทบต่อสังคมพืชก็ไม่รุนแรงมาก

โดยจากการศึกษาครั้งนี้จะพบว่า ปริมาณเชื้อเพลิงสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 6 ตันต่อเฮกแตร์ในช่วงเวลา 10 ปี และดูเหมือนว่าปริมาณเชื้อเพลิงจะเริ่มมีปริมาณคงที่ (ประมาณ 11-12 ตันต่อเฮกแตร์) ที่ระยะเวลาประมาณ 9 ปีหลังจากเกิดไฟไหม้ ซึ่งปริมาณเชื้อเพลิงในที่ต่างๆ ของประเทศก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน

มาดูงานวิจัยป่าแต่ละประเภทกันครับ นับตั้งแต่ทุ่งหญ้า ป่าเต็งรับ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ งานวิจัยแต่ละอันพบอะไรบ้าง

1️⃣ ทุ่งหญ้า
จากงานวิจัย“การประเมินมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของหญ้าบริเวณพื้นที่ชิงเผาในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก จังหวัดตาก” ของสิริวัฒน์ หวังดี และคณะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พบว่า พื้นที่หญ้าที่อายุ 12 เดือน มีปริมาณมวลชีวภาพและคาร์บอนสูงกว่าหญ้าอายุ 1 และ 2 เดือน ในตรงกันข้ามพื้นที่หญ้าอายุ 1 และ 2 เดือน มีปริมาณไนโตรเจนและโปรตีนของหญ้าทั้งพื้นที่มีปริมาณสูงกว่าในหญ้าที่มีอายุ 12 เดือนเสียอีก ดังนั้นการชิงเผาทุ่งหญ้าในพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นหนึ่งในการจัดการถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าในแง่การเพิ่มศักยภาพในการรองรับประชากรสัตว์ป่าในเชิงคุณภาพของพืชอาหารสัตว์ป่า

2️⃣ ป่าเต็งรัง
จากงานวิจัย“ผลกระทบของความถี่ของการเผาต่อลักษณะพฤติกรรมไฟการหมุนเวียนธาตุอาหารและลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของสังคมพืชในป่าเต็งรัง บริเวณเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง” โดยกอบศักดิ์ วันธงไชย และคณะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาปริมาณเชื้อเพลิงและพฤติกรรมไฟ ลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของสังคมพืช การสูญเสียธาตุอาหารเหนือพื้นดินจากการเผา และคุณสมบัติของดิน พบว่าป่าเต็งรังมีซากพืชมากถึง 70% ความถี่ของการเกิดไฟกระทบต่อการแตกหน่อของลูกไม้ การสูญเสียธาตุอาหาร และคุณสมบัติของดิน รวมถึงโครงสร้างและองค์ประกอบของสังคมพืชอย่างมีนัยสำคัญ

พื้นที่ที่มีไฟไหม้บ่อยในป่าเต็งรังจะมีพืชประเภทหญ้าในสัดส่วนที่สูงกว่าไม้พื้นล่างอื่นๆ เนื่องจากหญ้าเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาวะที่รุนแรงโดยเฉพาะความแห้งแล้งและไฟไหม้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า พื้นที่ที่มีไฟไหม้บ่อยจะไม่ค่อยพบไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของไม้ยืนต้นเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่มีความถี่การเกิดไฟน้อยกว่า

ผลจากการที่โครงสร้างและองค์ประกอบของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันซึ่งมีผลต่อชนิดและปริมาณการร่วงหล่นของเศษซากพืช ยังส่งผลต่อปริมาณธาตุอาหารและคุณสมบัติของดินที่มีความแตกต่างกันไประหว่างพื้นที่มีไฟไหม้บ่อยกับพื้นที่ไฟไหม้ไม่บ่อยอีกด้วย

โดยทั่วไปไฟมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงสูงในพื้นที่ที่มีปริมาณเชื้อเพลิงมาก แต่จากการศึกษาพบว่า แม้ในพื้นที่แปลงที่ความถี่การเกิดไฟน้อยที่มีปริมาณการสะสมเชื้อเพลิงสูงกว่าแปลงที่มีความถี่ไฟบ่อยถึงเกือบ 2 เท่า แต่ไฟกลับไม่ได้มีความรุนแรงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของไฟมีความผันแปรในระหว่างการเผาซึ่งอาจส่งผลกระทบที่แตกต่างกันไฟในแต่ละพื้นที่ได้

ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า การเผาทุกช่วงระยะเวลา 5-7 ปี ในป่าเต็งรังนั้น ไม่ได้ส่งผลให้ไฟมีความรุนแรงมาก (ประมาณ 290-470 kW.m-1) อีกทั้งการศึกษาของนักวิจัยอื่นๆ ได้ผลการศึกษาที่ใกล้เคียงกันว่า ไฟที่เกิดขึ้นในป่าเต็งรังเป็นไฟที่มีความรุนแรงต่ำ (Akakara et al. 2003; Himmapan 2004) นอกจากนี้การสูญเสียธาตุอาหารจากการเผา ตลอดทั้งผลกระทบต่อสังคมพืชก็ไม่รุนแรงมาก โดยจากการศึกษาครั้งนี้จะพบว่า ปริมาณเชื้อเพลิงสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 6 ตันต่อเฮกแตร์ในช่วงเวลา 10 ปี และดูเหมือนว่าปริมาณเชื้อเพลิงจะเริ่มมีปริมาณคงที่ (ประมาณ 11-12 ตันต่อเฮกแตร์) ที่ระยะเวลาประมาณ 9 ปีหลังจากเกิดไฟไหม้ ซึ่งปริมาณเชื้อเพลิงในที่ต่างๆ ของประเทศก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน

3️⃣ ป่าสน
จากงานวิจัย “ผลกระทบของการเผาต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติในป่าสนภูกุ่มข้าว อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว” Effects of prescribed burning on natural regeneration in Phu Kum Khao pine forest, Nam Nao National park โดย กอบศักดิ์ วันธงไชย และคณะ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า การเผามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความหนาแน่นของไม้หนุ่ม นอกจากนี้พบว่า จำนวนไม้รุ่นในแต่ละชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในป่าสนเสื่อมโทรมมีจำนวนลดลงจากก่อนเผา สำหรับลูกไม้พบว่า การเผามีผลกระทบต่อความสูงของกล้าไม้ โดยทำให้ความสูงโดยเฉลี่ยของลูกไม้ลดลง และพบว่าการกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกไม้ในป่าสนผสมก่อมีแนวโน้มลดลงภายหลังการเผา ยกเว้นป่าสนช่วงช่วงชั้นขนาดเล็ก-กลางมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นภายหลังการเผา และพบว่าเมื่อผ่านการเผาไป 1 ปี สัดส่วนของจำนวนหน่อต่อจำนวนลูกไม้ในป่าทั้งสองมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอย่างไม่มีนัยสำคัญ

4️⃣ ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ
จากการวิจัย “การประเมินการสูญเสียคาร์บอนจากการเผาเชื้อเพลิงในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ”
Estimation of Carbon Losses from Burnings in Dry Deciduous Dipterocarop Forest
and Mixed Deciduous Forest โดยวรพรรณ หิมพานต์ และคณะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พบว่า การปลดปล่อยคาร์บอน โดยการวิเคราะห์ปริมาณธาตุคาร์บอนในตัวอย่างเชื้อเพลิงแต่ละประเภทพบว่า หลังเผามีมวลชีวภาพของเชื้อเพลิงสูญหายไปจากพื้นที่ ปริมาณคาร์บอนที่สูญเสียในบรรยากาศจากป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง 1 เฮกแตร์ เท่ากับ 0.973 ตัน และ 2.069 ตัน ตามลำดับ ในขณะที่การประเมินปริมาณคาร์บอนที่สูญเสียไปโดยการนำเชื้อเพลิงแต่ละประเภทไปทดสอบหาค่าองค์ประกอบคาร์บอนทั้งก่อนและหลังเผา มีค่า 1.303 และ 2.025 ตัน/เฮกแตร์ ในป่าเบญจพรรณและในป่าเต็งรังตามลำดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมเกียรติ มีธรรม ฯ ป่าไม้ ที่ดินทำกินและเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนของการจัดการไฟป่า

แม่แจ่ม จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ

ข้อเสนอสีเขียว : แม่วากโมเดล รูปธรรมบูรณาการจัดการดินน้ำป่า สู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ภายใต้แม่แจ่มโมเดลและแม่แจ่มโมเดลพลัส