บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2021

สมเกียรติ มีธรรม ฯ ป่าไม้ ที่ดินทำกินและเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนของการจัดการไฟป่า

รูปภาพ
  สมเกียรติ มีธรรม  แกนนำ “แม่แจ่มโมเดล” "ป่าไม้ ที่ดินทำกินและเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนของการจัดการไฟป่า" หมายเหตุ ; คลิปและบทความชีวิตและงานนี้ เผยแพร่ในเพจ  GreatReform เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 https://www.facebook.com/GreatReform/posts/2072002406425468 วันที่ 3 เมษายน 2562 การเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ ขณะที่อยู่บนท้องฟ้า เมื่อเครื่องบินเริ่มลดระดับลง ภาพที่มองเห็นภายนอกหน้าต่างกลับไม่ใช่ทิวเขาสลับซับซ้อนเขียวขจีตัดกับท้องฟ้าสีครามอย่างที่คุ้นเคย ไม่ใช่แม้แต่สีขาวของกลุ่มก้อนเมฆ แต่กลับเป็นฝุ่นควันหนาทึบจนมองอะไรแทบไม่เห็น ย้อนกลับไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่กรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงตกอยู่ในสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2 . 5 ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและระบบหายใจ มีความกังวลใจล่องลอยมาว่า หลังฤดูเก็บเกี่ยวอีกไม่กี่เดือนจากนี้ก็จะเข้าสู่ฤดูกาลเผาป่าเผาไร่ ควันไฟทางภาคเหนือในปีนี้คงหนักหนายิ่งกว่าฝุ่นควันที่กรุงเทพมากนัก ... แล้วความจริงก็เป็นเช่นนั้น จากคำบอกเล่าจากชาวบ้านที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน เป็นธรรมดาที่ความแห้งแล้งรุนแรงจะวนเวียนมาทุกๆ 3-4 ปี ตามธรรม

ผันน้ำยวม 70,000 ล้าน ตอน ๑ คนต้นน้ำได้อะไร...?

รูปภาพ
             เดิมทีไม่อยากเขียนยืดเยื้อ ดึงขึ้นมาจนถึงต้นน้ำและลุ่มน้ำยวม แต่ด้วยความประทับใจที่ได้มาเยือนชุมชนลุ่มน้ำยวมตอนบนแห่งนี้เมื่อเดือนกันยายน 2555 รับจ๊อบมาจัดประชุมทำแผนชุมชนให้กับยูเอ็น ในพื้นที่ตำบลแม่อูคอและเขตตำบลห้วยโป่งหลายหมู่บ้าน/หย่อมบ้าน เริ่มต้นการเดินทางที่ตำบลแม่อูคอ ขับรถเข้าทางทุ่งบัวตอง ดอยแม่อูคอ ลัดเลาะไปตามไหล่เขาสูงชันกว่า 1,000 ม.รทก.ขึ้นไป แวะประชุม/พักตามหมู่บ้าน/หย่อมบ้านต่างๆ กินนอนกับพี่น้องปกาเกอะญอ ไล่เรียงขึ้นไปจนกระทั่งถึงบ้านหนองเขียว ตำบลห้วยโป่ง เขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ตลอดเส้นทาง ได้สัมผัสกับขุนเขาสูงชัน แมกไม้นานาพันธุ์ในผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ สายน้ำใสไหลเย็นฉ่ำชื่นใจ และมิตรไมตรีจากผู้คนจนประทับใจมาถึงทุกวันนี้           เมื่อมีโครงการผันน้ำยวมลงเขื่อนภูมิพล เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำชลประทานและน้ำอุปโภคบริโภคให้กับภาคกลางมากถึง 1,610,026 ล้านไร่ ผันน้ำยวมไปใช้มากถึง 1,795 ล้านลบ.ม.ต่อปี แบ่งเป็นน้ำเพื่อการชลประทาน 1,495 ล้านลบ.ม.ต่อปี น้ำประปาภูมิภาค/ท้องถิ่น 50 ล้านลบ.ม.ต่อปี และประปานครหลวง 250 ล้านลบ.ม.ต่อปี [1] คำถามหนึ่งซึ่งผุดขึ้นมาในฐ