ผันน้ำยวม 70,000 ล้าน ตอน ๑ คนต้นน้ำได้อะไร...?
เริ่มต้นการเดินทางที่ตำบลแม่อูคอ ขับรถเข้าทางทุ่งบัวตอง
ดอยแม่อูคอ ลัดเลาะไปตามไหล่เขาสูงชันกว่า 1,000 ม.รทก.ขึ้นไป
แวะประชุม/พักตามหมู่บ้าน/หย่อมบ้านต่างๆ กินนอนกับพี่น้องปกาเกอะญอ ไล่เรียงขึ้นไปจนกระทั่งถึงบ้านหนองเขียว
ตำบลห้วยโป่ง เขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
คำถามหนึ่งซึ่งผุดขึ้นมาในฐานะคนต้นน้ำ ซึ่งเดินตามคำสอนที่ว่า
“กินน้ำให้รักษาน้ำ ใช้ป่าดินให้รักษาป่าดิน” โดยวิถีคนอยู่กับป่าเช่นนี้ จึงมีผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ที่ขุนน้ำยวม
คอยกักเก็บและปล่อยน้ำออกมา กลายเป็นสายธาราน้อยใหญ่ไหลมารวมกันเป็นลำน้ำยวม
หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตสองฝั่งลำน้ำตลอดความยาวถึงอำเภอสบเมย 215
กิโลเมตร (ขณะที่ข้อมูลแหล่งเดียวกัน ปรากฏในรายงานแผนแม่บทพัฒนาลุ่มน้ำ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ธค.61 ระบุว่า น้ำยวมมีความยาว 240
กิโลเมตร-ไม่รู้ข้อมูลไหนถูก) ให้ปริมาณน้ำเฉลี่ย 521 ล้านลบ.ม./ปี ปริมาณน้ำเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 772.7 ลบ.ม./วินาที
ปริมาณต่ำสุดอยู่ที่ 1.97 ลบ.ม./วินาที[2]
ขณะที่ข้อมูลรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯมหาวิทยาลัยนเรศวรบอกว่า ปริมาณน้ำยวมเฉลี่ยอยู่ที่
90.11 ล้านลบ.ม./วินาที
โดยมีปริมาณน้ำสูงสุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน ต่ำสุดที่เดือนธันวาคม
โดยปริมาณน้ำทั้งหมดนี้ ถูกใช้ไปในพื้นที่ลุ่มน้ำยวมตอนกลางและตอนปลายน้ำยวมเป็นส่วนใหญ่
คนต้นน้ำในพื้นที่ตำบลแม่อูคอ อ.ขุนยวม และตำบลห้วยโป่ง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน กลับใช้น้ำตามลำห้วยหนองคลองบึงในการปศุสัตว์
ส่วนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคก็ใช้ระบบน้ำประปาภูเขา น้ำการเกษตรใช้ระบบเหมืองฝายขนานเล็ก
ซึ่งมีไม่กี่แห่งในการผันน้ำมาใช้ปลูกพืชผักต่างๆ เช่น กระเทียม ส้มเขียวหวาน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี มะเขือเทศ และแครอท พอในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ปัญหาขาดแคลนน้ำที่เคยมีก็กลับมาเยือนเป็นประจำทุกปี ทั้งๆที่มีลำธารในพื้นที่ต้นน้ำหลายสายไหลตลอดทั้งปี
เช่นที่ตำบลแม่อูคอ มีลำน้ำถึง 3
สาย ได้แก่ น้ำแม่สุริน น้ำยวม และน้ำแม่ยวมน้อย
แต่กลับมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพียง 1 แห่ง[3](ที่หย่อมบ้านปู่กู)
ในพื้นที่ต้นน้ำเขตตำบลห้วยโป่งก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้รับการพัฒนาระบบน้ำให้ดีอย่างที่ควรจะเป็น
ดังนั้น น้ำจากต้นน้ำส่วนใหญ่จึงไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่กลางน้ำกับปลายน้ำยวมเป็นหลัก
แต่กลับมีพื้นที่ชลประทานทั้ง 13 โครงการ ในเขตอำเภอขุนยวม
แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และสบเมย รวมกันเพียง 86,873 ไร่ โดยมีพื้นที่ชลประทานมากสุดที่อำเภอแม่สะเรียงและแม่ลาน้อย
(ดังปรากฏตารางสรุปโครงการชลประทานที่ได้ก่อสร้างในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2554)
ถ้าร่วมพื้นที่ชลประทานที่สร้างเพิ่มระหว่างปีพ.ศ.2557-58 ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อยและสบเมยอีก 2,575 ไร่ รวมกันเพียง 89,448 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.9 % ของพื้นชลประทานที่โครงการผันน้ำฯไปหล่อเลี้ยงภาคกลาง
คำถามคือ ทำไมผันน้ำไปพัฒนาเขตชลประทานภาคกลางมากมาย
ขณะที่คนต้นน้ำและลุ่มน้ำยวมแทบไม่ได้รับการเหลวแล นี้คือความเหลื่อมล่ำของการพัฒนาหรือไม่
[1]
รายงานชี้แจงเพิ่มเติมครั้งที่ 3 รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เล่มที่ ½ “โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล
แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล” โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร, พฤษภาคม 2564
[2]
สรุปข้อมูลโครงการชลประทานแม่ฮ่องสอน
ประกอบการบริหารน้ำแบบมีส่วนรวมและการขยายพื้นที่ชลประทาน http://www.msrid.com/action/sarup%20ku.ms/ku.ms..pdf
[3]
แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลแม่อูคอและตำบลห้วยโป่ง พ.ศ.2561-65
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น