จุดเปลี่ยนจัดการไฟป่า

 


การ"เผาป่า"ทุกปี เพิ่งเกิดขึ้นเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการมาจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ที่ไม่ได้ปักธงความคิดสู่ผู้บริหารองค์กร ผู้นำ และชุมชน ทุกคนเห็นแต่รูปแบบวิธีจัดการเชื้อเพลิงในป่าแบบง่ายๆ โดยไม่เข้าใจป่า จึงหยิบได้แต่เทคนิควิธีการที่ขาดเนื้อหาสาระสำคัญไปใช้ ในที่สุดก็กลายเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ จะเรียกว่าเผาทิ้งเผาขว้างก็ย่อมได้

แนวคิดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ เดิมทีเรียกกันว่า"ชิงเผา" มาในช่วงปีสองปีให้หล้ง รัฐเปลี่ยนวาทะกรรมเสียใหม่ จาก "ชิงเผา" มาเป็น "บริหารจัดการเชื้อเพลิง"แทน
ถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐเองก็พยายามที่จะสร้างวาทะกรรมใหม่ภายใต้แนวคิด Zero burenimg โดยใช้คำว่า "ชิงเก็บ" แต่แล้ววาทะกรรมนี้ก็สร้างขึ้นได้ยาก เนื่องจากในทางปฏิบัติไม่ตอบโจทย์การบริหารจัดการชีวมวลในป่าซึ่งมีมหาศาลได้ การใช้โดรนขนใบไม้ออกจากป่ามาทำปุ๋ย หรือจะนำเอาสิ่งประดิษฐ์จากใบไม้เข้าไปผนวกด้วยกัน ก็ไม่มีทางวิดน้ำในมหาสมุทรได้ จึงทำให้แนวคิด Zero burenimg ภายใต้วาทะกรรม "ชิงเก็บ" ไปต่อได้ยาก
แต่การที่รัฐยอมรับแนวคิดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในป่า (แม้เพียงรูปแบบวิธีการที่ฉาบฉวยก็ตาม) ถึงกับยอมหลับตาข้างหนี่งนั้น นับเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน ก่อนนำไปสู่แนวคิดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ เฉกเช่นเดียวกับการหลงอยู่แต่พิธีกรรมทางศาสนา หาได้เข้าถึงสาระแห่งธรรม เราจีงจำเป็นต้องอดทนอดกลั้น ทำงานปักธงความคิดกันต่อไป
การปักธงความความคิด "การบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ" ไม่ใช้เรื่องง่าย ไม่ต่างอะไรกับที่เจ้าชายสิทธิ์ถัตถะเผยแพร่ธรรมะ หรือว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบทฤษฏีใหม่ กว่าจะให้คนเดินตามได้คงต้องใช้เวลาพอควร
10 ปีที่ผ่านมา กับแนวคิด"บริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ" จะเดินต่ออย่างไร มาถึงวันนี้คงไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบเผาทิ้งเผาขว้างไร้หลักคิดถูกตั้งคำถามจากสังคมที่ได้รับผลกระทบกับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงดังกล่าว
นี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษอีกครั้ง ที่จะนำเข้าสู่สาระสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการบริหารจัดการไฟป่าดังที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน และนี้คงไม่ใช้เวลาหน้าซิ่วหน้าขวานต้องมาโทษกันไปมา หรือใครรู้กว่าใคร หากแต่เป็นเวลาอันดีที่ต้องพาทุกคนและทุกภาคส่วนทำความเข้าใจธรรมชาติของป่าแต่ละประเภท เข้าใจชุมชนคนอยู่กับป่า และบริหารจัดการให้เป็นไปตามกฏของธรรมชาติที่เรามิอาจฝืนได้
ป่าทุกป่ามีระบบนิเวศที่สร้างดุลยภาพบนความแตกต่างหลากหลาย ถึงแม้ไฟจะช่วยสร้างชีวิตใหม่ แต่ถ้าไร้ซึ่งอาหารที่เกิดจากการย่อยสลายตามธรรมชาติ ชีวิตใหม่ก็มิอาจดำรงอยู่ได้
การสร้างสมดุลระหว่างการใช้ไฟกับการย่อยสลายตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องบริหารจัดการให้ได้ ถ้าใช้ไฟทุกปี ชีวิตใหม่ก็อาจจะไม่สมบูรณ์ บางสายพันธุ์ก็อาจสาบสูญไป ความหลากหลายก็ลดลงไปเรื่อยๆ เช่นที่เกิดขี้นมาแล้วกับพืชและสัตว์หลายทศวรรษที่ผ่านมา แม้แต่งานวิจัยทั้งหลายก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า การรักษาสมดุลเป็นสิ่งต้องทำ และต้องบริหารจัดการอย่างเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของแต่ละป่า หรือแม้แต่ภูมิปัญญาชาวบ้านที่อยู่กับป่ามานาน ก็จำต้องละเลยไม่ได้
การเว้นระยะใช้ไฟตามงานวิจัยค้นพบ 5-7 ปีในป่าเต็งร้ง ก็อาจจะเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งอาจไม่ใช้หรือใช้ส่วนหนึ่งในการรักษาสมดุจระบบนิเวศก็ได้
แต่อย่างไรเสีย การเปลี่ยนแปลงสภาพป่า แม้ว่าจะไม่ได้มาจากไฟ ป่าเต็งรังและป่าอื่นๆก็มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ถ้าหากเข้าใจวัฏจักรของมันดีพอ ก็ไม่จำเป็นต้องไปฝืน จัดการเท่าที่จำเป็นก็พอ ที่เหลือธรรมชาติจะจัดการตัวเอง เพื่อรักษาสมดุลในระบบนิเวศนั้นๆ
เช่น การย่อยสลายของกิ่งไม้ใบหญ้า แม้จะใช้เวลานานเป็นปี แต่ก็เป็นวัฏจักรที่พอดีกับใบไม้ใบใหม่ที่ปลิวไสวร่วงสู่พื้นดิน ทำหน้าที่ปกคลุมดิน ลดการระเหยของน้ำ สร้างความชุมขื้นแก่หน้าดิน ทำให้เมล็ดพันธุ์ใหม่งอกเงยและเติบโตขึ้นได้ เป็นวัฏจักร์เช่นนี้ไปตลอด
ดังนั้น การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในป่า ต้องมีความรู้ความเข้าใจระบบนิเวศของแต่ละป่า และบริหารจัดการเท่าที่จำเป็นเช่นที่ชุมชนทำกันมายาวนาน เพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศก็พอ ขอเพียงอย่ามองเห็นกิ่งไม้ใบหญ้าเป็นศัตรูที่ต้องจัดการเป็นประจำทุกปีไป แค่นี้ก็ไม่ต้องมาวิ่งแก้ปัญหากันอีก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมเกียรติ มีธรรม ฯ ป่าไม้ ที่ดินทำกินและเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนของการจัดการไฟป่า

แม่แจ่ม จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ

ข้อเสนอสีเขียว : แม่วากโมเดล รูปธรรมบูรณาการจัดการดินน้ำป่า สู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ภายใต้แม่แจ่มโมเดลและแม่แจ่มโมเดลพลัส