ภาคประชาสังคมบนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ตอนหมดยุคอัศวินขี่ม้าขาว
ภาคประชาสังคมบนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน
ตอน หมดยุคอัศวินขี่ม้าขาว
คงไม่ต้องย้อนรอยไปไกลให้เห็นว่า ภาคประชาสังคม หรือ NGO ก้าวเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนสังคมตั้งแต่เมื่อไหร่ ถ้าถือเอาอายุขัยการทำงานภาคประชาสังคมโดยไม่ตั้งใจเป็นตัวตั้ง รวมสังกัดองค์กรและไม่สังกัดองค์กรก็ปาเข้าไปไม่น้อยกว่า 15 ปีนับแต่ที่เริ่มทำงาน
ผมไม่เหมือนคนอื่นๆที่มีอุดมการณ์ เข้ามาทำงานภาคประชาสังคมด้วยแรงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมโดยไม่สนเงินเดือนเท่าไหร่ หากแต่ผมเข้ามาด้วยความไม่รู้ อวิชชา ในสายตาของเพื่อนร่วมงาน หวังเพียงว่าจะเดินทางต่อไปยังเป้าหมายคือ "วิศวกร" แต่โชคชะตาก็เล่นตลก ทำให้ตกอยู่ในวงการภาคประชาสังคมโดยไม่ตั้งใจมาจนถึงทุกวันนี้
สิบกว่าปีบนเส้นทางสายนี้ ต้องเรียนรู้(ออกแนวแข่งกันเก่ง)กับเพื่อนร่วมงานมาอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นจะถูกถีบออกจากแวดวงให้เป็นคนชายเขตหรือตกขอบไปเลยก็ว่าได้ การได้อยู่ในแวดวงที่มีการแข่งขันกันสูงนี้เอง ได้หล่อหลอมความคิดความอ่านและทักษะอันหลากหลายจนกลายมาเป็นตัวเราทุกวันนี้ และในช่วงที่เราเดินทางในแวดวงภาคประชาสังคมนี้เอง ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงแต่ละเรื่องแต่ละกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง
ขอยกตัวอย่างในแวดวงที่เคยผ่านพบมาและเป็นจุดเริ่มต้นของผมคับ มีกลุ่มงานในเครือข่ายหลายด้าน มีทั้งด้านเด็กและการศึกษาทางเลือก ด้านศาสนากับการพัฒนา ด้านหนังสือและวารสารเผยแพร่ความรู้แนวใหม่ หรือหนังสือทางเลือกร่วมสมัย
ในความก้าวหน้าทางความคิดในเวลานั้น ต้องยอมรับว่าได้สร้างการเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ด้านเด็กและการศึกษา ได้เกิดการศึกษาทางเลือกขึ้น มีการแก้ไขปรับปรุง พรบ.การศึกษาใหม่ ในด้านศาสนากับการพัฒนา เกิดพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการประยุกต์ศาสนาธรรมกับการพัฒนาสังคมมากมาย อาทิเช่น เรื่องสันติวิธี ธรรมยาตราเพื่อสันติภาพและสิ่งแวดล้อม บราๆๆ
ถ้าแลออกไปจากแวดวง ก็จะพบภาคประชาสังคมที่ทำงานในแต่ละประเด็นมากมาย เช่น เรื่องสิทธิสตรี เรื่องแรงงาน เรื่องดินน้ำป่า อาชีพรายได้ วัฒนธรรมชุมชน เกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีการเกษตร จัดการน้ำ และเหมืองแร่ โดยในแต่ละประเด็นก็จะมีองค์กรที่เชี่ยวชาญเป็นเจ้าของเรื่อง ขับเคลื่อนในประเด็นนั้นๆไป ภายใต้งบประมาณที่ได้มาจากหลากหลายแหล่ง ทั้งองค์กรทุนในประเทศ ต่างประเทศ และรับบริจาคจากสังคม แต่โดยส่วนใหญ่ก็ยังอาศัยองค์กรทุนเป็นหลัก ต่อเมื่อองค์กรทุนต่างประเทศลดและยุติการสนับสนุน จึงต้องหันมาหาแหล่งทุนในประเทศกันมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นองค์อิสระที่ตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ
จากปัญหางบประมาณนี้เอง ภาคประชาสังคมในไทยต้องปรับตัวขนานใหญ่อีกครั้ง หันมาพึ่งตนเองและองค์กรทุนในประเทศมากขึ้น และในห้วงเวลานี้ เราจึงเห็นสินค้าและผลิตภัณฑ์สีเขียวเกิดขึ้นมากมาย พร้อมกับสายสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เอกชน กับภาคประชาสังคม ที่เคยอยู่กันคนขั้วก็เริ่มขยับเข้ามาใกล้มากขึ้น ยิ่งมาระยะหลังๆใกล้กันจนถูกมองว่าเป็น "ภาคขยายของรัฐ" ก็มี ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะทุนและการยอมรับ หากแต่เป็นกระบวนทัศน์ในการทำงาน ซึ่งผมเรียกมันว่า "กระบวนทัศน์เชิงกระบวนระบบ"
ภายใต้กระบวนทัศน์นี้ ไม่ได้แบ่งแยกองคาพยทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ออกจากกัน หรือแม้แต่กระบวนการทำงาน ก็ไม่อาจแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆได้ ความสัมพันธ์ของปัญหาและสาเหตุที่อิงอาศัยกันและเป็นปัจจัยต่อกันและกัน ภาษาพุทธเรียกว่าอิทัปปัจยยตา สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น การบูรณาการจึงเกิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการเรียนรู้และขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่จุดจบของยุค"อัศวินขี่ม้าขาว" หรือ "ยุคฮีโร" ที่เป้าหมายและกระบวนการทำงานก็ต้องเปลี่ยนตามด้วย มีเป้าหมายแต่ไม่มีเป้าหมาย และใช้ space and time เป็นตัวกำหนด
ติดตามตอนต่อไปครับ
ตอน หมดยุคอัศวินขี่ม้าขาว
สมเกียรติ มีธรรม
คงไม่ต้องย้อนรอยไปไกลให้เห็นว่า ภาคประชาสังคม หรือ NGO ก้าวเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนสังคมตั้งแต่เมื่อไหร่ ถ้าถือเอาอายุขัยการทำงานภาคประชาสังคมโดยไม่ตั้งใจเป็นตัวตั้ง รวมสังกัดองค์กรและไม่สังกัดองค์กรก็ปาเข้าไปไม่น้อยกว่า 15 ปีนับแต่ที่เริ่มทำงาน
ผมไม่เหมือนคนอื่นๆที่มีอุดมการณ์ เข้ามาทำงานภาคประชาสังคมด้วยแรงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมโดยไม่สนเงินเดือนเท่าไหร่ หากแต่ผมเข้ามาด้วยความไม่รู้ อวิชชา ในสายตาของเพื่อนร่วมงาน หวังเพียงว่าจะเดินทางต่อไปยังเป้าหมายคือ "วิศวกร" แต่โชคชะตาก็เล่นตลก ทำให้ตกอยู่ในวงการภาคประชาสังคมโดยไม่ตั้งใจมาจนถึงทุกวันนี้
สิบกว่าปีบนเส้นทางสายนี้ ต้องเรียนรู้(ออกแนวแข่งกันเก่ง)กับเพื่อนร่วมงานมาอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นจะถูกถีบออกจากแวดวงให้เป็นคนชายเขตหรือตกขอบไปเลยก็ว่าได้ การได้อยู่ในแวดวงที่มีการแข่งขันกันสูงนี้เอง ได้หล่อหลอมความคิดความอ่านและทักษะอันหลากหลายจนกลายมาเป็นตัวเราทุกวันนี้ และในช่วงที่เราเดินทางในแวดวงภาคประชาสังคมนี้เอง ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงแต่ละเรื่องแต่ละกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง
ขอยกตัวอย่างในแวดวงที่เคยผ่านพบมาและเป็นจุดเริ่มต้นของผมคับ มีกลุ่มงานในเครือข่ายหลายด้าน มีทั้งด้านเด็กและการศึกษาทางเลือก ด้านศาสนากับการพัฒนา ด้านหนังสือและวารสารเผยแพร่ความรู้แนวใหม่ หรือหนังสือทางเลือกร่วมสมัย
ในความก้าวหน้าทางความคิดในเวลานั้น ต้องยอมรับว่าได้สร้างการเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ด้านเด็กและการศึกษา ได้เกิดการศึกษาทางเลือกขึ้น มีการแก้ไขปรับปรุง พรบ.การศึกษาใหม่ ในด้านศาสนากับการพัฒนา เกิดพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการประยุกต์ศาสนาธรรมกับการพัฒนาสังคมมากมาย อาทิเช่น เรื่องสันติวิธี ธรรมยาตราเพื่อสันติภาพและสิ่งแวดล้อม บราๆๆ
ถ้าแลออกไปจากแวดวง ก็จะพบภาคประชาสังคมที่ทำงานในแต่ละประเด็นมากมาย เช่น เรื่องสิทธิสตรี เรื่องแรงงาน เรื่องดินน้ำป่า อาชีพรายได้ วัฒนธรรมชุมชน เกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีการเกษตร จัดการน้ำ และเหมืองแร่ โดยในแต่ละประเด็นก็จะมีองค์กรที่เชี่ยวชาญเป็นเจ้าของเรื่อง ขับเคลื่อนในประเด็นนั้นๆไป ภายใต้งบประมาณที่ได้มาจากหลากหลายแหล่ง ทั้งองค์กรทุนในประเทศ ต่างประเทศ และรับบริจาคจากสังคม แต่โดยส่วนใหญ่ก็ยังอาศัยองค์กรทุนเป็นหลัก ต่อเมื่อองค์กรทุนต่างประเทศลดและยุติการสนับสนุน จึงต้องหันมาหาแหล่งทุนในประเทศกันมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นองค์อิสระที่ตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ
จากปัญหางบประมาณนี้เอง ภาคประชาสังคมในไทยต้องปรับตัวขนานใหญ่อีกครั้ง หันมาพึ่งตนเองและองค์กรทุนในประเทศมากขึ้น และในห้วงเวลานี้ เราจึงเห็นสินค้าและผลิตภัณฑ์สีเขียวเกิดขึ้นมากมาย พร้อมกับสายสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เอกชน กับภาคประชาสังคม ที่เคยอยู่กันคนขั้วก็เริ่มขยับเข้ามาใกล้มากขึ้น ยิ่งมาระยะหลังๆใกล้กันจนถูกมองว่าเป็น "ภาคขยายของรัฐ" ก็มี ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะทุนและการยอมรับ หากแต่เป็นกระบวนทัศน์ในการทำงาน ซึ่งผมเรียกมันว่า "กระบวนทัศน์เชิงกระบวนระบบ"
ภายใต้กระบวนทัศน์นี้ ไม่ได้แบ่งแยกองคาพยทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ออกจากกัน หรือแม้แต่กระบวนการทำงาน ก็ไม่อาจแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆได้ ความสัมพันธ์ของปัญหาและสาเหตุที่อิงอาศัยกันและเป็นปัจจัยต่อกันและกัน ภาษาพุทธเรียกว่าอิทัปปัจยยตา สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น การบูรณาการจึงเกิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการเรียนรู้และขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่จุดจบของยุค"อัศวินขี่ม้าขาว" หรือ "ยุคฮีโร" ที่เป้าหมายและกระบวนการทำงานก็ต้องเปลี่ยนตามด้วย มีเป้าหมายแต่ไม่มีเป้าหมาย และใช้ space and time เป็นตัวกำหนด
ติดตามตอนต่อไปครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น