จริยธรรมสิ่งแวดล้อม : ว่าด้วยพลังชุมชนแก้ไฟป่าและหมอกควัน
จริยธรรมสิ่งแวดล้อม : ว่าด้วยพลังชุมชนแก้ไฟป่าและหมอกควัน
จังหวัดเชียงรายแทบไม่มีจุดความร้อน (hotspot)
จังหวัดเชียงใหม่ hotspot ลงไปเรื่อยๆ
จิตอาสาได้รับบาดเจ็บจากการดับไฟป่า
จิตอาสาเสียชีวิตจากการดับไฟป่า
ชาวบ้านให้ความร่วมมือไม่จุดไฟเผาป่าช่วง 60 วันห้ามเผา
ชาวบ้านร่วมกันทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและสัตว์ป่า
ชาวบ้านคืนพื้นที่ทำกินให้เป็นป่า
ชาวบ้านร่วมกันบวชป่าและปลูกป่า
เกษตรกรเอาพื้นที่ทำกินปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ชาวบ้านร่วมกันทำป่าชุมชน ป่าใช้สอย
เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น
เหล่านี้คือ พฤติกรรมการแสดงออกของชาวบ้านและเกษตรกรในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าหลายต่อหลายเรื่องกลับไปติดระเบียบและกฎหมาย เป็นอุปสรรคทำให้การปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมล่าช้า แม้ว่าปัจจุบันเริ่มมีการแก้กฏหมายและระเบียบต่างๆ ไปบ้าง แต่ก็ยังไม่เปิดเต็มที่ ติดๆขัดๆกับเงื่อนไขหยุบหยิม
ในฐานะคลุกคลีกับชาวบ้านมายาวนานต่อเนื่อง พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา ป้องกัน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างดี หมู่บ้านหนึ่งๆ มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สร้างปัญหาให้คนส่วนใหญ่ และหลายต่อหลายกรณีชุมชนก็สามารถที่จะจัดการเองได้โดยไม่ต้องถึงมือเจ้าหน้าที่รัฐ ตัวอย่างเช่น การปรับข้อหาฝ่าฝืนจับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ ตัดไม้ในป่าอนุรักษ์ของชุมชน บราๆๆ เป็นต้น ในกรณีไฟป่าและหมอกควันก็เช่น โดยเฉพาะในช่วง 60 วันห้ามเผา คนที่เผาป่าในหมู่บ้านหนึ่งๆมีเพียงไม่กี่คน และเพียงไม่กี่คนนี้ บางคนออกจะป้าๆเปิ่นๆเสียด้วยซ้ำไปที่สร้างปัญหาให้คนส่วนใหญ่
อาหารควาย-วัว |
ทำปุ๋ยหมัก |
คำถามก็คือว่า ทำไม....? ชาวบ้านส่วนใหญ่ถึงให้ความร่วมมือในการไม่เผาป่า โดยเฉพาะช่วง 60 วันห้ามเผา นี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามจากนักวิจัยและนักข่าว ที่เข้ามาทำวิจัยและทำข่าวเป็นระยะๆ ก็เลยเล่าความย้อนหลังเมื่อครั้งจัดการไฟป่าปี 59 ให้ฟังว่า
การร้องขอจากผู้นำที่เข้าถึงชาวบ้าน การเห็นประโยชน์ที่จะสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การรณรงค์และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจผลกระทบของหมอกควันไฟป่าอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ประกอบกับตัวชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบด้วยตนเอง และเสียงบ่นจากสังคมภายนอกก็มีส่วนช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเช่นกัน ส่วนการบังคับใช้กฏหมาย พูดได้ว่าแทบจะไม่ได้ผลเลยด้วยซ้ำ ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้เกิดการท้าทายอีกต่างหาก และยิ่งเข้มงวดกวดขันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งท้าทายมากขึ้นตามมา
การร้องขอจากผู้นำที่เข้าถึงชาวบ้าน การเห็นประโยชน์ที่จะสร้างมูลค่าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การรณรงค์และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจผลกระทบของหมอกควันไฟป่าอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ประกอบกับตัวชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบด้วยตนเอง และเสียงบ่นจากสังคมภายนอกก็มีส่วนช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเช่นกัน ส่วนการบังคับใช้กฏหมาย พูดได้ว่าแทบจะไม่ได้ผลเลยด้วยซ้ำ ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้เกิดการท้าทายอีกต่างหาก และยิ่งเข้มงวดกวดขันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งท้าทายมากขึ้นตามมา
ผลกระทบกับตัวเอง เห็นมูลค่าจากเศษวัสดุการเกษตร ความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาและผลกระทบที่มากไปกว่าตัวเอง เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม จนนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นหลากหลายด้าน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ต้องเหนื่อยเอามากๆ
เปลี่ยนการปลูกพืชเป็นไผ่ |
แต่นั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเชิงปัจเจกบุคคลและชุมชน คนในเมืองจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง...? และในเชิงโครงสร้าง กฏหมาย นโยบาย จะเดินต่อย่างไรในเรื่องนี้ เพื่อที่จะก้าวสู่ความยั่งยืน...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น