จับโกหกคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ กรณีบทความเรื่อง “ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ”

จับโกหกคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
กรณีบทความเรื่อง “ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ”

...................................................................................................................................................................
ย้อนรอยนิดหนึ่งครับ คุณวันชัยเขียนบทความนี้ลงในสารคดีเดือนเมษายน 2558 ในตอนนั้นคุณวันชัยดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) และอดีต บก.นิตยสารสารคดี บทความนี้ขาดข้อมูลข้อเท็จจริง ผมจึงได้เขียนตอบโต้ไปทีละประเด็น หลังบทความผมเขียนตอบโต้ คุณวันชัยได้ประสานผ่านทางคุณนิคม พุทธา ขอให้ผมลบบทความนี้ออก เนื่องจากไปทำลายเครดิตคุณวันชัย ในวันนั้นผมต่อลองกับคุณนิคม พุทธา ให้แก้ไข แต่ก็ไม่เป็นผล วันนี้บทความที่ขาดข้อเท็จจริงของคุณวันชัยถูกแชร์เผยแพร่อีกครั้ง โดยเจ้าตัวรู้หรือไม่ก็ตาม ผมจึงต้องเอาบทความที่ผมเขียนตอบคุณวันชัยในเดือนเมษายน 2558 ออกเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยไม่ได้ตัดต่อหรือเพิ่มความใดๆทั้งสิ้น
..................................................................................................................................................


กรณีคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) และอดีต บก.นิตยสารสารคดี เขียนบทความเรื่อง “ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษลงในบล็อกสารคดี (http://www.sarakadee.com/blog/oneton/?p=1717)  เมื่อเดือนเมษายน 2558 โดยพุ่งเป้าโจมตีชาวอำเภอแม่แจ่มเป็นหลัก แต่ขาดข้อมูลข้อเท็จจริง ทำให้บทความนี้สร้างความเข้าใจผิดต่อผู้อ่านเป็นอย่างมาก
การนำเสนอบทความที่ขาดข้อมูลข้อเท็จ เป็นความรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่ต้องกลับมาทบทวน ยึดความถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน ไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระจนคลาดเคลื่อนหรือเกินจากความเป็นจริง กรณีบทความของคุณวันชัย เป็นการเขียนที่ผิดไปจากจริยธรรมสื่อมวลชน ที่คนอย่างคุณวันชัยไม่ควรจะให้เกิดขึ้น
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขอนำประเด็นต่างๆ จากบทความเรื่อง “ข้าวโพด สาเหตุแห่งการทำลายป่า น้ำแล้งและหมอกควันพิษ มาให้แยกแยะให้เห็นข้อมูลข้อเท็จจริงดังนี้

ข้อ 1. คุณวันชัยเขียนว่า ".....เราเผาป่าต้นน้ำหลายสิบล้านไร่เพื่อเปลี่ยนเป็นข้าวโพด..." 
ข้อมูล   ข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน 2554 (ปรับปรุง ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2556) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือ 5,592,375 ไร่ ทั้งประเทศ 7,839,843 ไร่ มีเกษตรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 56 จำนวน 401,921 ครัวเรือน ไม่ใช่หลายสิบล้านไร่อย่างที่กล่าวอ้าง

ข้อ 2. คุณวันชัยเขียนว่า "...ดูแม่น้ำแม่แจ่ม มีต้นน้ำมาจากป่าใหญ่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวงไหลผ่านอำเภอแม่แจ่มและไปออกสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอฮอด..."
ความจริง  ต้นน้ำแม่แจ่มไหลมาจากดอยกิ่วปลาก้างทางตอนเหนืออำเภอแม่แจ่ม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา หรือที่รู้จักกันว่า "มูเสคี" ป่าต้นน้ำแม่แจ่ม บ้านวัดจันทร์ (อดีตเป็นตำบลวัดจันทร์ อ.แม่แจ่ม) ไม่ใช่มีต้นน้ำมาจากป่าใหญ่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง

ข้อ 3. คุณวันชัยเขียนว่า "...ปัจจุบันแม่แจ่มจึงเป็นหุบเขาแห่งข้าวโพด (corn valley) กลายเป็นอำเภอที่มีปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาป่าและซากไร่มากที่สุดในประเทศ..."
ข้อมูล  ใน 18 จังหวัดภาคเหนือตอนบนพบจุดความร้อนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมากสุด รองมาจังหวัดเชียงใหม่จัดอยู่ในอันดับ 2 ของประเทศ แล้วอย่างนี้แม่แจ่มกลายเป็นอำเภอที่มีปัญหาหมอกควันจากการเผาป่าและซากไร่มากที่สุดในประเทศได้อย่างไร ซึ่งนั้นก็หมายความว่ามากกว่าจังหวัดอื่นๆ อีก  (ดูตารางข้อมูล Hotspot จากดาวเทียม Terra และAgua ปีงบประมาณ 2558 ฯ) จะเห็นว่าแม่แจ่มไม่ใช่ที่สุดของประเทศ

 
ข้อ 4. คุณวันชัยเขียนว่า "....จากการติดตามและรวบรวมสถิติจุดที่ตรวจพบความร้อน หรือจุดที่เกิดไฟ (Hotspot) ของทางการพบว่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าอำเภอแม่แจ่ม มีจำนวนมากถึง ๔๗ จุด..."

ข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบ 25 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ แม้อำเภอแม่แจ่มพบจุดความร้อนมากสุด แต่ถ้าเปรียบเทียบข้อมูลที่คุณวันชัยเอามาอ้าง ซึ่งเป็นตัวเลขช่วงวันที่ 1 ต.ค.57-22 มี.ค.58 เฉพาะพื้นที่อนุรักษ์ (ไม่รวมพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เกษตร) ในช่วงนี้ตัวเลขจริงอำเภอแม่แจ่มอยู่ที่ 46 จุดไม่ใช่ 47 จุด
อ.เชียงดาวมากสุด 140 จุด
อ.เวียงแหง 62 จุด
อ.พร้าว 53 จุด
อ.แม่แตง 51 จุด
อ.สะเมิง 50 จุด
อ.แม่แจ่ม 46 จุด
แต่ถ้าร่วมพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่การเกษตร ณ วันที่ 15 เม.ย.58 แม่แจ่มพบจุดความร้อนอยู่ที่ 319 จุด (ดูข้อมูลตารางข้างล่าง) มากสุดในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ใช้มากสุดในประเทศไทย


 
ข้อ 5. คุณวันชัยเขียนว่า "...โดยพื้นที่เผานั้นเกือบทั้งหมดอยู่ในไร่ข้าวโพดซึ่งมีประมาณ สองแสนไร่...."
ข้อมูล ในปีพ.ศ.๒๕๕๖ มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน ๑๔๔,๘๘๐ ไร่ เกษตกรผู้ปลูกข้าวโพดฯ ๘,๓๓๒ ราย พอปีพ.ศ.๒๕๕๗ ลดลงมาอยู่ที่ ๑๑๘,๗๙๑ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฯ ,๔๒๗ ราย[1] ให้ผลผลิตในปี๒๕๕๖/๕๗ เฉลี่ย ๗๓๗ กิโลกรัม/ไร่ ไม่ใช่สองแสนไร่อย่างที่กล่าวอ้าง

6. "...ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศมีมากเกือบ ๔๐๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร..."
ข้อมูล ปี 2558 สูงสุดอยู่ที่ 299 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ไม่ใช่ 400 ไมโครกรัม/ลบ.ม. อย่างที่คุณวันชัยยกเมฆครับ (ดูตารางข้างล่าง)

 
ข้อ 7. คุณวันชัยเขียนว่า "...ในอนาคต อย่าได้แปลกใจหากหน้าแล้ง แม่น้ำปิงน้ำจะแห้งเหือด เพราะน้ำจากป่าต้นน้ำอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงสู่แม่น้ำปิงมากที่สุด แต่ป่าในอำเภอแม่แจ่มถูกทำลายมากที่สุดเพื่อเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพดหลายแสนไร่..."
ข้อมูล พื้นที่ป่าประเทศไทยปี2556 อยู่ที่ร้อยละ 31.57
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ป่าร้อยละ 69.49
อำเภอแม่แจ่มมีป่าร้อยละ 81.00 ของพื้นที่ทั้งหมด[2] (ดูกราฟด้านล่าง)                                                              

 
ในจำนวนพื้นที่ทำกิน 226,685 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีพ.ศ.๒๕๕๖ จำนวน ๑๔๔,๘๘๐ ไร่ โดยมีพื้นที่ลดลงมาในปีพ.ศ.๒๕๕๗ อยู่ที่ ๑๑๘,๗๙๑ไร่[3]
ไม่ได้มีหลายแสนไร่ อย่างที่คุณวันชัยพูดถึง




[1] สำนักงานเกษตรอำเภอแม่แจ่ม ปี ๒๕๕๖,๒๕๕๗
[2] ข้อมูลการจัดทำแนวเขตที่ดินและการจัดการทรัพยากร สำรวจโดยภาพถ่ายทางอากาศสีและเครื่องตรวจค่าพิกัด GPS โดยอำเภอแมแจ่มและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ, ก.ย.56
[3] สำนักงานเกษตรอำเภอแม่แจ่ม ปี ๒๕๕๖,๒๕๕๗

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อเสนอสีเขียว : แม่วากโมเดล รูปธรรมบูรณาการจัดการดินน้ำป่า สู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ภายใต้แม่แจ่มโมเดลและแม่แจ่มโมเดลพลัส

แม่แจ่ม จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ

สมเกียรติ มีธรรม ฯ ป่าไม้ ที่ดินทำกินและเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนของการจัดการไฟป่า