ความฝัน อยุติธรรม ฆาตกรรม ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง
สมเกียรติ มีธรรม
หลังจากโพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัวสั้นๆ
ในประเด็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างไปแล้ว คิดว่าจะไม่นำมาเขียนต่ออีก พอเห็นผู้นำประเทศและสื่อต่างๆเสนอข่าวความรุนแรงกันแต่เพียงปรากฏการณ์อย่างเมามันส์
พุ่งไปพฤติกรรมคนก่อเหตุเป็นหลัก
ทั้งยังโฟกัสเหตุการณ์ต่างๆไปเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล ไม่เกี่ยวกับระบบ ระเบียบ ฯลฯ
อะไร ก็อดไม่ได้ที่จะนั่งจับคีย์บอร์ด วิเคราะห์ปรากฎฏารณ์ของยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำไม่ได้
พอพูดถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หลายคนอาจมองไม่เห็นว่ามันคืออะไร...?
มันทำลายความฝันเราอย่างไรบ้าง มันกระทบถึงเรามากน้อยแค่ไหน ยิ่งฟังดูยิ่งงง
เหมือนกับเป็นเรื่องไกลตัวเอามากๆ แม้หลายต่อหลายครั้งความรุนแรงนั่นเกิดขึ้นกับเราโดยตรงก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการขมขู่ คดโกง เอารัดเอาเปรียบต่างๆ นานา แต่ทว่าเรารับรู้กันเพียงปรากฏการณ์ตามสัญชาตญาณเท่านั้น
อารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ความคิดแก้ปมปัญหาเฉพาะหน้า กลับมาบดบังปัญญาเราหมด
ยิ่งสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน ส่งผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ความรุนแรงรวดเร็วเท่าไหร่
สังคมก็จะมีอารมณ์ร่วมไปกับสถานการณ์นั่นๆ โดยไม่ยั่งคิด พร้อมๆ กับตัดสินคนไปตามพฤติกรรมที่ได้รับรู้จากสื่อทันทีทันใดโดยไม่ลังเล
เพราะเหตุนั้น เมื่อเกิดความรุนแรงคราใด เราจึงเห็นการแสดงออกต่างๆนานาของผู้คน
ไม่ว่าจะเป็นการด่า ประณาม สะใจ เห็นใจ เศร้าใจ ทะลักผ่านโลกโชเชียลมากมาย จนลดทอนการมองเห็นที่มากไปกว่าปรากฏการณ์ที่ยึดโยงให้ยอดภูเขาน้ำแข็งโผล่พ้นน้ำได้
หรือพูดกันให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ ไม่เห็นเหตุปัจจัยที่ยึดโยงกันเป็นโครงสร้าง
พันธนาการบุคคลและสังคมที่ก่อความรุนแรงคืออะไร ก็ยากที่จะออกไปจากความรุนแรงนั่นได้
ความรุนแรงเชิงโครงสร้างคืออะไร.....?
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความรุนแรงที่เกิดจากกฏเกณฑ์ ระบบ ระเบียบ กฏหมาย และ
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความรุนแรงที่เกิดจากกฏเกณฑ์ ระบบ ระเบียบ กฏหมาย และ
นโยบาย ที่ไม่เป็นธรรม เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากไปจนไร้การถ่วงดุล
ทำให้คนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจ พร้อมที่จะหยิบจับเอามาใช้เป็นเครื่องมือเอารัดเอาเปรียบคนที่ไม่มีอำนาจ
ไม่มีโอกาส หรือด้อยโอกาสกว่า เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง หรือเพื่อแสดงความมีตัวตนของตนกับผู้ร่วมงานและล่ามไปถึงสังคม
เมื่อถูกกดดันจากพฤติกรรมผู้มีอำนาจที่ขาดสติยั่งคิด
เอาระเบียบกฎเกณฑ์มาเป็นเครื่องมือในการกดขี่ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจัดการผู้อื่น
ออกนโยบายเอื้อให้นายทุนเข้ามาผูกขาด พอถูกเอารัดเอาเปรียบมากๆ ก็ยากทนไม่ไหว ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อสู้ผ่านช่องทางต่างๆ
เมื่อมีคนฟังแต่ไม่ได้ยิน มิหนำซ้ำยังถูกกลั่นแกล้งซ้ำเติมลงไป
การก่อสิ่งที่ไม่คาดฝันก็อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งระดับปัจเจกบุคคล กลุ่มคน และสังคม
ปรากฏการณ์ความรุนแรงที่ทวีคูณขึ้นตามลำดับ ทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น
ล้วนมีพัฒนาการมาจากโครงสร้างอันอยุติธรรม ที่เกาะกินกัดกร่อนชีวิตจิตใจ การงานของผู้คน
และสังคม โดยที่ตนไม่ทันตั้งตัวหรือไม่รู้เท่าทันก็ว่าได้ หลายต่อหลายคนจึงเลือกที่จะออกจากระบบนั้นไป
แต่ก็ใช่ว่าจะหนีพ้น ตราบใดที่ยังคงดำรงชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคม ก็ยังคงมีระเบียบ
กฎหมาย และนโยบายกำกับอยู่ดี
ที่พูดแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะยุยงส่งเสริมให้ละเมิดระเบียบ กฎเกณฑ์
กฎหมาย และนโยบายใดๆ หากแต่สิ่งเหล่านี้นั่นเป็นไปเพื่อพัฒนาคนและสังคมให้มีจิตใจที่สูงขึ้น
หรือส่งเสริมคนดีให้มีมากขึ้น ระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมาย และนโยบาย ก็ไม่ใช้สิ่งที่รังเกลียดแต่อย่างใด
ในทางกลับกับ ถ้าระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมาย และนโยบาย
เอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากไปจนไม่ได้ยินเสียงคนเล็กคนน้อยเมื่อไหร่
ในวันหนึ่งก็จะระเบิดออกมาเหมือนกับหลุมดำ จนสร้างความเสียหายมหาศาลแก่ชีวิตทรัพย์สินของผู้คนและสังคมได้
โดยนัยนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมอาจไม่ใช้ใครที่ไหน
บางทีก็เจอเข้ากับเราๆท่านๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากระบบระเบียบฯลฯต่างๆ
ก็เป็นได้ ตราบใดที่ยังไม่เห็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างเป็นเรื่องใกล้ตัว
ส่วนทางออกจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ก็ต้องปฏิรูประบบใหม่ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนมากกว่าเอื้อประโยชน์ส่วนตน
มีองค์กรยุติธรรมเป็นช่องทางให้กับคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเข้าถึงได้ง่าย ฯลฯ ที่มากไปกว่านั้นก็คือ
เราๆท่านๆ ที่มีความอาจหาญทางจริยธรรมนี้แหละ ถึงจะหยุดความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น