กาพื่อเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
ในจำนวน 1.3 ล้านเสียง มีหลายคนตัดสินใจเลือกแล้ว และมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจ การตัดสินใจเลือกใคร ไม่เลือกใครเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนั่นคือเหตุผลของแต่ละคน บางคนเลือกเพราะชอบ ไม่เลือกเพราะชัง บางคนเลือกตางค์มากาเป็น บางคนเลือกพรรค/กลุ่ม บางคนเลือกเพราะรู้จัก เลือกเพราะเป็นเพื่อนกัน เลือกเพราะเพื่อนชวน แล้วแต่เหตุผลใครมันว่าไป
ในมุมมองแอดมิน(เฟส) เวลานี้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา สาธารณสุข ฯ มันซับซ้อนขึ้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยากจะใช้เหตุผลข้างต้นเป็นตัวตัดสินใจแล้ว หลายต่อหลายปัญหาไม่ได้จบลงที่ระดับอำเภอหรือจังหวัด แต่กลับไปจบที่ส่วนกลาง เนื่องจากโครงสร้างอำนาจรัฐราชการรวมศูนย์
อย่างเช่น ปัญหาสิทธิในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ปัญหานี้แก้ไม่ได้ในระดับจังหวัด เนื่องจากไปเกี่ยวข้องกับนโยบาย กฏหมาย ระเบียบต่างๆ จนปล่อยคาราคาซังมากระทั่งทุกวันนี้ แม้จะมีความพยายามที่จะแก้ไขกัน สุดท้ายก็ไปติดกฏหมาย ระเบียบ คน งบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เลยไม่ขยับไปไหน จนทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เดินหน้าต่อไม่ได้ติดหมด อปท.และหน่วยงานอื่นจะพัฒนาอะไรไปติดตรงนี้หมด ทำให้ชาวบ้าน เกษตรกรเสียโอกาส หรือแม้แต่ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ก็ไปจบที่ส่วนกลาง
เมื่อหันกลับมาดูบทบาท อปท. กับการพัฒนาในประเด็นปัญหาต่างๆ ต้องบอกว่าครอบจักรวาล และเป็นด้านหน้าของการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงถนนหนทางเท่านั้น การศึกษาที่ก้าวหน้า การส่งเสริม/พัฒนาอาชีพรายได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์เทรนใหม่ การฟื้นเขาหัวโล้น การอนุรักษ์ดินน้ำป่าควบคู่กับการสร้างรายได้ การพัฒนาระบบน้ำการเกษตรยั่งยืน ก็เป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ติดกับดักทางนโยบาย กฏหมาย ระเบียบต่างๆ
จนทำให้ตัวท้องถิ่นและชาวบ้านขาดโอกาสการพัฒนาไปทันที
ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบแบบรัฐราชการรวมศูนย์เช่นนี้ การเลือกตัวแทนเข้าไปเป็นปากเสียงให้เราจึงต้องพิจารณากันใหม่ ก้าวข้ามไปจากเหตุผลเก่าๆเดิมๆ จนไม่เห็นช่องทางการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างให้กับชาวบ้าน
แต่ในปัจจุบัน เริ่มเห็นความหวังมากขึ้น เมื่อพรรคการเมืองปรับตัวลงมาเล่นถึงระดับท้องถิ่น ส่งตัวแทนลงรับเลือกตั้งเป็นนายกอบจ. สมาชิกสภาจังหวัด(สจ.) และนายกอบต. เรียกว่าใกล้ชิดกับชาวบ้านมากขึ้น ใครมีปัญหาอะไรก็ส่งเสียงให้ตัวแทนในพื้นที่รับและส่งต่อไปยังพรรคเมืองนำไปแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย และนำนโยบายลงมาปฏิบัติให้เกิดมรรคผลในระดับท้องถิ่น ในตรงกันข้าม ถ้าไม่สนองเสียงชาวบ้าน สมัยก็พากันบายได้ทันที ดีกว่าบุคคลและกลุ่มการเมืองอิสระ แม้จะมีการเมืองระดับชาติหนุนหลังอย่างลับๆ แต่เสียงชาวบ้านส่งต่อไปไม่ได้ เมื่อส่งต่อไปไม่ได้ ปัญหาชาวบ้านและท้องถิ่นจึงไม่ได้รับการแก้ไข เอกสารสิทธิ์ในที่ดินซึ่งอยู่กันมาหลายชั่วโคตรคาราคาซังมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะติดกฏหมายและระเบียบราชการที่ตัวแทนแบบเดิมทำไม่ได้ จะสร้างถนนหนทาง ขุดบ่อน้ำ ฯลฯ ไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านเสียโอกาส เพราะไปติดกฏหมายและระเบียบราชการที่ตัวแทนแบบเดิมทำไม่ได้อีกเช่นกัน ฯลฯ
เพื่อทะลายข้อจำกัดแบบเดิม มุ่งประโยชน์ชาวบ้านและท้องถิ่นเป็นใหญ่ การเลือกระบบพรรคการเมืองเพื่อที่จะส่งต่อเสียงชาวบ้านให้ถึงระดับนโยบายนำไปแก้ไข จึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่งั้นปัญหาต่างๆก็ไม่ถูกแก้ไข วนเป็นงูกินหางอยู่ที่เดิม
ภายใต้มุมมองใหม่ กรอบการตัดสินใจใหม่ จะทำให้ชาวบ้าน
ทัองถิ่นไม่ขาดโอกาส...
การตัดสินใจกากะบาทแบบเดิมฯส่งผลต่อตัวท่านเองอย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น