แม่แจ่ม ข้าวโพด หมอกควัน และบริษัทอาหารสัตว์รายใหญ่


 แม่แจ่มเป็นอำเภอที่มีพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของเชียงใหม่ และมักถูกกล่าวอ้างว่าเป็นอำเภอที่เป็นต้นเหตุของการก่อมลพิษเสมอมา 

คุณสมเกียรติ มีธรรม ผู้ประสานงานแม่แจ่มโมเดลพลัส และผู้อำนวยการสถาบันอ้อผญา(องค์กรสถานประโยชน์) เล่าว่า ก่อนที่อำเภอแม่แจ่มจะหันมาปลูกข้าวโพดนั้น วิถึชีวิตดั้งเดิมของชุมชนเน้นการประกอบอาชีพจากการปลูกข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ผักกาด หอมหัวแดง กระเทียม บ้างก็มีสวนผลไม้ เช่น มะขาม มะม่วง แต่เป็นการปลูกเพื่อกินเอง รวมถึงมีการทำไร่หมุนเวียน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ กระเหรี่ยง ม้ง ลั๊ว ราวร้อยละ 65 ที่เหลือเป็นคนพื้นราบ จนกระทั่งหลังพัฒนามาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ไร่หมุนเวียนก็แทบจะไม่เหลือแล้ว

ผลกระทบของหมอกควันไฟและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงปี 2557-2558 จนกระทั่งคุณสมเกียรติกล่าวว่า “มองเสาไฟฟ้าต้นที่สองแทบไม่เห็นแม้ในเวลากลางวัน ไม่ไหวแล้ว ต้องออกมาทำอะไรสักอย่าง” เมื่อคุณภาพชีวิตพร่าเลือนแต่ปัญหาชัดเจนขึ้น คุณสมเกียรติและภาคีเครือข่ายจึงเริ่มต้นขยับเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และเป็นที่มาของแม่แจ่มโมเดลแก้ปัญหาหมอกควันกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ และเพื่อสลัดคำกล่าวหาว่าคนแม่แจ่มเป็นผู้ก่อมลพิษ

เพิ่มเติม https://www.greenpeace.org/thailand/story/23579/food-agriculture-maechaem-haze-meat-industry-somkiat/






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมเกียรติ มีธรรม ฯ ป่าไม้ ที่ดินทำกินและเศรษฐกิจชุมชน ความยั่งยืนของการจัดการไฟป่า

แม่แจ่ม จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ

ข้อเสนอสีเขียว : แม่วากโมเดล รูปธรรมบูรณาการจัดการดินน้ำป่า สู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ภายใต้แม่แจ่มโมเดลและแม่แจ่มโมเดลพลัส