การเมืองเรื่องหมอกควันไฟป่า ภาค 2
การเมืองเรื่องหมอกควันไฟป่า ภาค 2
การเมืองเรื่องหมอควันไฟป่า ไม่ใช่เป็นเรื่องความเชื่อ.. เชื่อ&ไม่เชื่อ ตัดคำว่าเชื่อไม่เชื่อออกได้เลยครับ ใครที่ไม่อยู่ในพื้นที่จริง ไม่มีประสบการณ์ตรงในพื้นที่ย่อมมีคำถามมากมาย แต่สำหรับผมแล้ว "ฟันธง" ได้เลยว่า ไฟป่าซึ่งเกิดจากคนเผาในช่วงเวลานี้ มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในบทความครั้งก่อน ผมแยกออกเป็น 3 ประเด็นคือ ความขัดแย้ง ความต้องการงบประมาณต่อเนื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความต้องการหาทุนจากแหล่งทุน ในบทความภาค 2 นี้ขอพุ่งไปตอบคำถามที่หลายคนค้างคาใจว่า"เผาเอางบ"กันหรือไม่ และพุ่งไปประเด็นความขัดแย้งเป็นหลัก นับตั้งแต่ระดับชุมชน ซึ่งเป็นความขัดแย้งภายในหมู่บ้านตามอ่านได้ในบทความครั้งก่อน นอกจากนั้นยังมี ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานอุทยาน หน่วยงานป่าไม้ในแต่ละพื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดจากการบริหารแบบ single command
ในที่นี้ ขอเริ่มจากคำถามที่ว่า.....?
๑. เผาเอางบกันหรือเปล่า
คำว่าเผาเอางบ มีคนตั้งคำถามมากมายในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็หาทางพิสูจน์ไม่ได้ ในบทความนี้ผมก็มานั่งคิดว่าจะตอบโจทย์อย่างไร พอนึกขึ้นได้บ้างเล็กน้อยเลยเอามาฝากช่วยพิจารณากัน ข้อมูลตัวเลขนี้เอามาจากสองแห่งใหญ่ (ยังไม่รวมงบประมาณของกรมป่าไม้และอุทยาน) ได้แก่ข้อมูลสรุปสถานการณ์หมอกควันไฟป่า ปี 58-61 ของจีสด้า และโครงการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ของกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ปี 58-61 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ดำเนินงานโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ ฯที่ 3 ลำปาง และฯสาขาแม่ฮ่องสอน
พิจารณาจากกราฟ เปรียบเทียบการใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ปีพ.ศ.2558-61 พบว่า งบประมาณกับ hotspot หรือจุดความร้อนจะมากหรือน้อย ไม่ค่อยผกผันกับการใช้งบประมาณเท่าไหร่ แต่ถ้าหันไปดูงบประมาณกับพื้นที่เผาไหม้ให้ภาพชัดเจนขึ้น ปีไหนงบประมาณมาก ปีนั้นพื้นที่เผาไหม้น้อยลง มีไหนงบประมาณน้อย พื้นที่เผาไหม้ก็จะมากขึ้น ผกผันกันพอควร
๒. การเมืองระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานป่าไม้ในระดับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอุทยานและป่าสงวน อย่าลืมนะครับ เราเคยได้ยินข่าวชาวบ้านถูกยึดที่ทำกิน รื้อบ้าน รื้อรีสอร์ท ตัดต้นยางในพื้นที่ทำกินที่อยู่ในเขตป่าสงวนและอุทยานมานักต่อนัก ความขัดแย้งนั้นยังคุกกรุ่นไม่จางหายไปไหน เพียงถูกซ่อนไว้ใต้พรมเท่านั้น แตะกันเมื่อไหร่ก็จะสำแดงออกมาทันที กรณีไฟป่าที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ในปีนี้ (เน้นเฉพาะในปีนี้ก่อนนะครับ) อาทิเช่น ดอยหลวงเชียงดาว สวนแก้ววนาราม อ.ฮอด ดอยผาตั้งอินทนนท์ อินทนนท์ฝั่งตะวันตก อ.จอมทอง ฯลฯ ซึ่งไม่เคยเกิดไฟมาก่อน ก็มาเกิดในปีนี้อีกเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่อุทยานหลายแห่ง ปีนี้รุนแรงกว่าที่ผ่านๆมา
สาเหตุสำคัญสำคัญ อยู่ที่การบริหารจัดการอุทยานโดยเอากฎหมายแต่ไม่เอาคนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ ทำให้เกิดไฟในป่ารุนแรงในปีนี้ ผมไม่อยากเอ่ยว่าพื้นที่ไหน เด๋วไปกระทบเทือน(พูดตรงๆ)พวกเดียวกัน หลังฤดูกาลนี้ผ่านพ้นไป สื่อลองหาช่องทางไปเจาะดูแต่ละพื้นที่ได้ ในเวลานี้คงไม่มีใครเผยอะไรออกมาชัดๆ นอกเสียจากว่าไฟป่าที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงถึงความไม่พอใจในการบริหารจัดพื้นที่อุทยานและป่าสงวนในแต่ละพื้นที่
๓. การบริหารระบบ single command ที่รวมศูนย์อยู่กับสายมหาดไทยเป็นหลัก ฟังดูดี แต่ที่น่าเสียดายก็คือ ระบบ single command ที่ว่า ไม่ได้ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา แต่ทว่าระบบนี้กลับเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง กดดันผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกน้องไปจนถึงชาวบ้าน
สิ่งที่สำแดงตามมาก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงาน ความร่วมไม้ร่วมมือ อันนี้ต้องเขาใจครับว่า คนระดับปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ซึ่งมีทั้งสายป่าไม้และสายท้องที่วิ่งพล่านไปทั่ว ร้อนก็ร้อน เหนื่อยก็เหนื่อย คำชมไม่มี ผลงานไม่ได้นอกจากค่าตอบแทน หรือบางทีไม่มีค่าตอบแทนด้วยซ้ำ เสี่ยงก็เสี่ยง แต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้น หัวหน้ากับเจ้านายรับไปเต็มๆ แต่พอไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็ใช้ระเบียบราชการมาคาดโทษ กดดันอีก
ระบบ single command แบบสั่งการสถานเดียว โดยไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมจึงไม่ได้ใจคน ผลตามมาก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเกิดไฟการเมืองในระดับหน่วยงาน จนทำให้จุดความร้อนหรือ hotspot แผ่ขยาย เพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นในปีต่อไป ซึ่งหลายพื้นที่ผกผันกันในลักษณะนี้ แต่หลายพื้นที่ไปกันเป็นปี๋เป็นขลุย
๔. ปัญหาในเชิงโครงสร้าง อันที่จริง ข้อ ๑ และข้อ ๒ ที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อสืบสาวหาเหตุปัจจัยลึกลงไป ก็จะพบได้ว่าเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กฎหมาย ระเบียบราชการ และรัฐ ที่หัวหน้าหน่วยงานและส่วนราชการต้องปฏิบัติตาม ไม่งั้นก็จะถือว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่อีก ผมเข้าใจหน่วยงานระดับพื้นที่ดีครับ หลายต่อหลายคนเราชนแก้วกันได้ตลอด แต่ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายอยู่ดี...
ทางออกคืออะไร....?
๑ แก้ไขและปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย และนโยบาย ให้ตอบโจทย์ข้อเท็จจริงในพื้นที่ (ซึ่งในขณะนี้เริ่มมีการแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่)
๒. กระจายอำนาจการจัดการไฟป่าและป่าไม้ที่ดินให้กับท้องถิ่นและชุมชน
๓. พัฒนาและสร้างกลไกชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
๔. สร้างหลักประกันชีวิตให้จิตอาสามีขวัญกำลังใจและความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย
๕. เร่งจัดตั้งกองทุนตอบแทนคุณนิเวศ
๖. มาตราการสร้างความยั่งยืน ฟื้นป่าสร้างรายได้ ผลิตหลากหลาย ใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตและรายได้เท่าเดิมหรือมากกว่า ชุมชนเข้มแข็ง ตอบแทนคุณนิเวศ
๗. สร้างแรงจูงใจในด้านภาษี
๘. ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา (pollnter pay principle -ppp)
๙. ปัดฝุ่นข้อตกลงอาเซียนเรื่อง มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Tramsboundary Haze Pollution)
สมเกียรติ มีธรรม
การเมืองเรื่องหมอควันไฟป่า ไม่ใช่เป็นเรื่องความเชื่อ.. เชื่อ&ไม่เชื่อ ตัดคำว่าเชื่อไม่เชื่อออกได้เลยครับ ใครที่ไม่อยู่ในพื้นที่จริง ไม่มีประสบการณ์ตรงในพื้นที่ย่อมมีคำถามมากมาย แต่สำหรับผมแล้ว "ฟันธง" ได้เลยว่า ไฟป่าซึ่งเกิดจากคนเผาในช่วงเวลานี้ มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในบทความครั้งก่อน ผมแยกออกเป็น 3 ประเด็นคือ ความขัดแย้ง ความต้องการงบประมาณต่อเนื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความต้องการหาทุนจากแหล่งทุน ในบทความภาค 2 นี้ขอพุ่งไปตอบคำถามที่หลายคนค้างคาใจว่า"เผาเอางบ"กันหรือไม่ และพุ่งไปประเด็นความขัดแย้งเป็นหลัก นับตั้งแต่ระดับชุมชน ซึ่งเป็นความขัดแย้งภายในหมู่บ้านตามอ่านได้ในบทความครั้งก่อน นอกจากนั้นยังมี ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานอุทยาน หน่วยงานป่าไม้ในแต่ละพื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดจากการบริหารแบบ single command
ในที่นี้ ขอเริ่มจากคำถามที่ว่า.....?
๑. เผาเอางบกันหรือเปล่า
คำว่าเผาเอางบ มีคนตั้งคำถามมากมายในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็หาทางพิสูจน์ไม่ได้ ในบทความนี้ผมก็มานั่งคิดว่าจะตอบโจทย์อย่างไร พอนึกขึ้นได้บ้างเล็กน้อยเลยเอามาฝากช่วยพิจารณากัน ข้อมูลตัวเลขนี้เอามาจากสองแห่งใหญ่ (ยังไม่รวมงบประมาณของกรมป่าไม้และอุทยาน) ได้แก่ข้อมูลสรุปสถานการณ์หมอกควันไฟป่า ปี 58-61 ของจีสด้า และโครงการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ของกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ปี 58-61 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ดำเนินงานโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ ฯที่ 3 ลำปาง และฯสาขาแม่ฮ่องสอน
ข้อมูล ; จีสด้าและแผนพัฒนาจังหวัดกลุ่มภาคเหนือบน 1 http://www.osmnorth-n1.moi.go.th/new/index_2.php |
ข้อมูลภาพ ; ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/content/1392805 |
สาเหตุสำคัญสำคัญ อยู่ที่การบริหารจัดการอุทยานโดยเอากฎหมายแต่ไม่เอาคนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ ทำให้เกิดไฟในป่ารุนแรงในปีนี้ ผมไม่อยากเอ่ยว่าพื้นที่ไหน เด๋วไปกระทบเทือน(พูดตรงๆ)พวกเดียวกัน หลังฤดูกาลนี้ผ่านพ้นไป สื่อลองหาช่องทางไปเจาะดูแต่ละพื้นที่ได้ ในเวลานี้คงไม่มีใครเผยอะไรออกมาชัดๆ นอกเสียจากว่าไฟป่าที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงถึงความไม่พอใจในการบริหารจัดพื้นที่อุทยานและป่าสงวนในแต่ละพื้นที่
สิ่งที่สำแดงตามมาก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงาน ความร่วมไม้ร่วมมือ อันนี้ต้องเขาใจครับว่า คนระดับปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ซึ่งมีทั้งสายป่าไม้และสายท้องที่วิ่งพล่านไปทั่ว ร้อนก็ร้อน เหนื่อยก็เหนื่อย คำชมไม่มี ผลงานไม่ได้นอกจากค่าตอบแทน หรือบางทีไม่มีค่าตอบแทนด้วยซ้ำ เสี่ยงก็เสี่ยง แต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้น หัวหน้ากับเจ้านายรับไปเต็มๆ แต่พอไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็ใช้ระเบียบราชการมาคาดโทษ กดดันอีก
ระบบ single command แบบสั่งการสถานเดียว โดยไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมจึงไม่ได้ใจคน ผลตามมาก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเกิดไฟการเมืองในระดับหน่วยงาน จนทำให้จุดความร้อนหรือ hotspot แผ่ขยาย เพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นในปีต่อไป ซึ่งหลายพื้นที่ผกผันกันในลักษณะนี้ แต่หลายพื้นที่ไปกันเป็นปี๋เป็นขลุย
๔. ปัญหาในเชิงโครงสร้าง อันที่จริง ข้อ ๑ และข้อ ๒ ที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อสืบสาวหาเหตุปัจจัยลึกลงไป ก็จะพบได้ว่าเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กฎหมาย ระเบียบราชการ และรัฐ ที่หัวหน้าหน่วยงานและส่วนราชการต้องปฏิบัติตาม ไม่งั้นก็จะถือว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่อีก ผมเข้าใจหน่วยงานระดับพื้นที่ดีครับ หลายต่อหลายคนเราชนแก้วกันได้ตลอด แต่ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายอยู่ดี...
ทางออกคืออะไร....?
๑ แก้ไขและปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย และนโยบาย ให้ตอบโจทย์ข้อเท็จจริงในพื้นที่ (ซึ่งในขณะนี้เริ่มมีการแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่)
๒. กระจายอำนาจการจัดการไฟป่าและป่าไม้ที่ดินให้กับท้องถิ่นและชุมชน
๓. พัฒนาและสร้างกลไกชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
๔. สร้างหลักประกันชีวิตให้จิตอาสามีขวัญกำลังใจและความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย
๕. เร่งจัดตั้งกองทุนตอบแทนคุณนิเวศ
๖. มาตราการสร้างความยั่งยืน ฟื้นป่าสร้างรายได้ ผลิตหลากหลาย ใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตและรายได้เท่าเดิมหรือมากกว่า ชุมชนเข้มแข็ง ตอบแทนคุณนิเวศ
๗. สร้างแรงจูงใจในด้านภาษี
๘. ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา (pollnter pay principle -ppp)
๙. ปัดฝุ่นข้อตกลงอาเซียนเรื่อง มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Tramsboundary Haze Pollution)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น