บทความ

งานวิจัยพบ ป่าเต็งรัง ไม่จำเป็นต้องเผาทุกปี

รูปภาพ
การใช้ไฟในแต่ละพื้นที่ป่ามีความแตกต่างกันไปโดยไม่จำเป็นต้องเผาทุกปี ยกเว้นกรณีทุ่งหญ้า ซึ่งดูว่าจะต้องการไฟมาช่วยเพิ่มศักยภาพอาหาร รองรับประชากรสัตว์มากกว่าพื้นที่อื่น ส่วนป่าที่อาจจะพูดว่าต้องห้าม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากดูว่าจะเป็นป่าสน ไฟมีผลกระทบต่อไม้สนขนานเล็กขนานกลางสูงมาก ขณะที่ป่าเบญจพรรณมีชีวมวลมาก ปล่อยคาร์บอนที่สูญเสียในบรรยากาศก็สูงตามไปด้วย ขณะที่ป่าเต็งรัง แม้การใช้ไฟจะเพิ่มความหลากหลายของไม้พื้นล่าง แต่ก็กระทบต่อการแตกหน่อของลูกไม้ การสูญเสียธาตุอาหารเหนือพื้นดินจากการเผา และคุณสมบัติของดินอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งขึ้นอยู่กับภาพภูมิประเทศ นอกจากนั้นงานวิจัยยังพบอีกว่า การสะสมชีวมวลแม้จะสูงกว่าแปลงที่มีความถี่ของไฟสูงถึง 2 เท่าตัว แต่ไฟไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด ดังนั้น การเผาทุกช่วงระยะเวลา 5-7 ปี ในป่าเต็งรัง ไม่ได้ส่งผลให้ไฟมีความรุนแรงมาก (ประมาณ 290-470 kW.m-1) อีกทั้งการศึกษาของนักวิจัยอื่นๆ ได้ผลการศึกษาที่ใกล้เคียงกันว่า ไฟที่เกิดขึ้นในป่าเต็งรังเป็นไฟที่มีความรุนแรงต่ำ (Akakara et al. 2003; Himmapan 2004) ทั้งการสูญเสียธาตุอาหารจากการเผา ตลอดทั้งผลกระทบต่อสังคมพืชก็ไม่รุน...

จุดเปลี่ยนจัดการไฟป่า

รูปภาพ
  การ"เผาป่า"ทุกปี เพิ่งเกิดขึ้นเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการมาจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ที่ไม่ได้ปักธงความคิดสู่ผู้บริหารองค์กร ผู้นำ และชุมชน ทุกคนเห็นแต่รูปแบบวิธีจัดการเชื้อเพลิงในป่าแบบง่ายๆ โดยไม่เข้าใจป่า จึงหยิบได้แต่เทคนิควิธีการที่ขาดเนื้อหาสาระสำคัญไปใช้ ในที่สุดก็กลายเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ จะเรียกว่าเผาทิ้งเผาขว้างก็ย่อมได้ แนวคิดการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ เดิมทีเรียกกันว่า"ชิงเผา" มาในช่วงปีสองปีให้หล้ง รัฐเปลี่ยนวาทะกรรมเสียใหม่ จาก "ชิงเผา" มาเป็น "บริหารจัดการเชื้อเพลิง"แทน ถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐเองก็พยายามที่จะสร้างวาทะกรรมใหม่ภายใต้แนวคิด Zero burenimg โดยใช้คำว่า "ชิงเก็บ" แต่แล้ววาทะกรรมนี้ก็สร้างขึ้นได้ยาก เนื่องจากในทางปฏิบัติไม่ตอบโจทย์การบริหารจัดการชีวมวลในป่าซึ่งมีมหาศาลได้ การใช้โดรนขนใบไม้ออกจากป่ามาทำปุ๋ย หรือจะนำเอาสิ่งประดิษฐ์จากใบไม้เข้าไปผนวกด้วยกัน ก็ไม่มีทางวิดน้ำในมหาสมุทรได้ จึงทำให้แนวคิด Zero burenimg ภายใต้วาทะกรรม "ชิงเก็บ" ไปต่อไ...

แม่แจ่ม จุดเปลี่ยนแห่งทศวรรษ

รูปภาพ
  อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชนเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมายาวนาน กระทั้งปัจจุบันแม้มีเศรษฐกิจใหม่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตผู้คน แต่เศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชนก็ยังคงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างอาชีพรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทุกชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนพื้นเมือง ปกาเกอะญอ ม้ง และละว้า            มาถึงเวลานี้ ถ้าจะบอกว่าเศรษฐกิจอำเภอแม่แจ่มปัจจุบันขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน ทั้ง เศรษฐกิจใหม่และเศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชน ก็คงไม่ผิดนัก หากจะบอกว่าเศรษฐกิจ “๑ เมือง ๒ แบบ” ย่อมได้               ๑ เศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชน นับว่าเป็นรากฐานสำคัญของทุกชาติพันธุ์ในอำเภอแม่แจ่ม ที่ได้รับการต่อยอดจาก“โภคภัณฑ์”มาเป็น“ผลิตภัณฑ์” แต่ที่พอทำกันเป็นล้ำเป็นสันในขณะนี้ คงหนี้ไม่พ้นผ้าซิ่นตีนจก เสื้อผ้ากระเหรี่ยง เสื้อผ้าชาติพันธุ์ม้ง และผ้าท้อชาติพันธุ์ลั๊วะ ซึ่งมีลวดลายงดงาม เป็นงานทำมือที่มีความละเอียดประณีต ให้สีสันสวยงามตระการตา ใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือนในการถักทอก่อรูป เป็นเส้น เป็นสาย เป็นดอก เป็นลว...

แม่แจ่ม ข้าวโพด หมอกควัน และบริษัทอาหารสัตว์รายใหญ่

รูปภาพ
 แม่แจ่มเป็นอำเภอที่มีพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของเชียงใหม่ และมักถูกกล่าวอ้างว่าเป็นอำเภอที่เป็นต้นเหตุของการก่อมลพิษเสมอมา  คุณสมเกียรติ มีธรรม ผู้ประสานงานแม่แจ่มโมเดลพลัส และผู้อำนวยการสถาบันอ้อผญา(องค์กรสถานประโยชน์) เล่าว่า ก่อนที่อำเภอแม่แจ่มจะหันมาปลูกข้าวโพดนั้น วิถึชีวิตดั้งเดิมของชุมชนเน้นการประกอบอาชีพจากการปลูกข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ผักกาด หอมหัวแดง กระเทียม บ้างก็มีสวนผลไม้ เช่น มะขาม มะม่วง แต่เป็นการปลูกเพื่อกินเอง รวมถึงมีการทำไร่หมุนเวียน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ กระเหรี่ยง ม้ง ลั๊ว ราวร้อยละ 65 ที่เหลือเป็นคนพื้นราบ จนกระทั่งหลังพัฒนามาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ไร่หมุนเวียนก็แทบจะไม่เหลือแล้ว ผลกระทบของหมอกควันไฟและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงปี 2557-2558 จนกระทั่งคุณสมเกียรติกล่าวว่า “มองเสาไฟฟ้าต้นที่สองแทบไม่เห็นแม้ในเวลากลางวัน ไม่ไหวแล้ว ต้องออกมาทำอะไรสักอย่าง” เมื่อคุณภาพชีวิตพร่าเลือนแต่ปัญหาชัดเจนขึ้น คุณสมเกียรติและภาคีเครือข่ายจึงเริ่มต้นขยับเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และเป็นที่มาของแม่แจ่มโมเดลแก...

ออกไปจาก ฉีกหน้ากากไฟป่าภาคเหนือ 65

รูปภาพ
          ชีวมวลสะสมในปริมาณที่มากทุกปีในพื้นที่ป่าหลายแห่ง ขาดการบริหารจัดการชีวมวลในป่าที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แนวคิด BURNING ZERO แบบสุดขั้ว กฎหมายและระเบียบราชการเป็นอุปสรรคในการจัดการไฟป่า นโยบายไม่เป็นระบบ ขาดความต่อเนื่องตั้งแต่บนลงล่าง และขัดกันเอง รวมศูนย์อำนาจจัดการไฟป่า ความขัดแย้งทางตรงและเชิงโครงสร้าง           ประเด็นต่างๆที่ยกมาข้างต้น คือปัญหาและสาเหตุที่เคยนำเสนอไว้แล้วในช่วงที่ผ่านมา มีด้วยกันทั้งหมด 7 ตอน ครอบคลุมตั้งแต่มายเซ็ต ปริมาณเชิงเพลิงในป่า การบริหารจัดการ ไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยหาอ่านย้อนหลังได้ในเพจนี้ เมื่อพูดถึงทางออกก็ต้องบอกว่า ภาคประชาชนกับภาคประชาสังคมและชุมชน ก้าวหน้าก้าวไกลไปมากกว่าราชการรวมศูนย์มากแล้ว ข้อเรียกร้องต่างๆในเชิงนโยบายโดยภาคประชาชนต่อรัฐบาลที่ผานมาก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง กฎหมายอากาศสะอาดก็ไม่ขยับไปไหน กระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจจัดการไฟป่า ต้องบอกว่าครึ่งผีครึ่งคน คือโอนงบประมาณ(ปี66)แต่ไม่โอนคนหรือเพิ่มคนให้ท้องถิ่น จะถ่ายโอน...

ฉีกหน้ากากไฟป่าภาคเหนือ 65

รูปภาพ
  🔥 ตอน 1️ PARADIGM เปลี่ยน จัดการไฟป่าก็เปลี่ยน 📌 วันนี้อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการบริหารจัดการไฟป่าก็คือ แนวคิด ZERO BURNING แบบสุดขั้ว แนวคิดนี้ เป็นแนวคิดของชั้นชนกลางในเมืองบางกลุ่มและผู้บริหารจำนวนมาก แทบทุกระดับในกระทรวงทรัพย์ฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ไฟลดปริมาณชีวมวลในป่าทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากแนวคิดนี้มองว่า “ถ้ามีควันก็ต้องมีไฟ ถ้ามีไฟก็ต้องมีควัน” ดังนั้นถ้าไม่ให้เกิดหมอกควันอีก ก็ต้องไม่มีการเผาทุกรูปแบบ เดิมทีแนวคิดนี้ปรากฏอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดเผาป่าทุกรูปแบบ เพราะการเผาป่าเป็นการทำลาย ไม่ใช้การบำรุงดูแลรักษาป่า ซึ่งในหมู่ผู้รักษากฎหมายป่าไม้ส่วนใหญ่ก็มองไปในทิศทางเดียวกัน เราจึงเห็นคำสั่งและประกาศจังหวัด ออกมาในแนวเดียวกันทุกปี คือ ห้าม งดการเผา แล้วก็ห้าม งดการเผา กระทั่ง 5 ปีที่ให้หลัง เป็นช่วงเวลาที่เกิดปัญหาหมอกควันไฟป่าสะสมในปริมาณที่มากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จนทำให้ค่าเฉลี่ยฝุ่นควันสะสม หรือค่า PM 10 และ PM 2.5 อยู่ในระดับที่สูงติดต่อกันหลายวันเป็นประจำทุกปี บางปีเครื่องบินลงจอดได้ เศร...